หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

Master of Science Program in Oral and Maxillofacial Radiology

OP คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

2 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ

จำนวนหน่วยกิต

40 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่เน้นพัฒนาความรู้ ฝึกฝนทักษะทางคลินิกและทักษะการวิจัยทางสาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อผลิตบุคลากรเฉพาะทางที่สามารถพัฒนาตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

เปิดรับสมัครเป็นไปตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนะนำหลักสูตร

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประชาชนมีความรู้และเศรษฐานะดีขึ้น ทําให้มีความสนใจในการดูแลสุขภาพในช่องปากมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ต้องการบริการด้านทันตสาธารณสุขขั้นพื้นฐานไปสู่บริการที่มีมาตรฐานการรักษาที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่ต้องพัฒนาทันตแพทย์ให้มีความรู้ สมรรถนะและทักษะเฉพาะด้านที่สูงขึ้น ซึ่งจํานวนทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในประเทศ ณ ปัจจุบัน มีเพียง 1,800 คน ในขณะที่จํานวนประชากรมีมากถึง 70,000,000 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:39,000 แสดงให้เห็นว่าทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังคงขาดแคลนอยู่มาก จําเป็นที่จะต้องมีการผลิตทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้มากขึ้น และพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะเฉพาะด้านที่สูงขึ้น

สาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นหนึ่งในสาขาเฉพาะด้านทางทันตกรรม ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างภาพ (X-ray imaging) ทั้งเทคนิคการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก การถ่ายภาพรังสีนอกช่องปาก และภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ชนิดโคนบีม (Cone-Beam Computed Tomography, CBCT) นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงเทคนิคการสร้างภาพด้วยกระบวนการขั้นสูงอื่น เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging, MRI) การสร้างภาพด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasonography) เป็นต้น

ภาพของผู้ป่วยที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนการต่างๆข้างต้น มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการวินิจฉัยรอยโรคบริเวณศีรษะและใบหน้า ทั้งรอยโรคที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ฟันผุและโรคปริทันต์ หรือรอยโรคถุงน้ำและเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร รวมถึงรอยโรคอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากการตรวจทางคลินิก ตลอดจนเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยบริเวณศีรษะและใบหน้า เช่น การผ่าตัดขากรรไกร การฝังรากเทียม การรักษารากฟันที่มีความซับซ้อน เป็นต้น

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

IMG 2894 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชามีอุปกรณ์ทางรังสีวิทยาและเครื่องถ่ายภาพรังสีที่ทันสมัย มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งงานวินิจฉัยและงานการเรียนการสอน ได้แก่ เครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ชนิดโคนบีม (Cone Beam Computed Tomography, CBCT) และเครื่องอัลตราซาวด์ มีความร่วมมือกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาศัลยศาสตร์ สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและทันตกรรมรากเทียม สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วย

ภาควิชามีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในสาขา โดยเฉพาะสาขาวิชาทันตนิติเวช ซึ่งประสานความร่วมมือกับฝ่ายนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

ความร่วมมือ

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สารจากผู้อํานวยการหลักสูตร

ภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2483 เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน
เนื่องจากสาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นแขนงหนึ่งของการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ทางภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเสาหลักของแผ่นดิน ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นสถาบันการศึกษา และศูนย์ภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียลแห่งชาติในระดับโลก ที่สร้างบัณฑิต องค์ความรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสาขาดังกล่าว จึงได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต รังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล มีระยะเวลาศึกษา 2 ปี และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) แขนงรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียล ที่มีระยะเวลาศึกษา 3 ปี ที่เน้นการทำวิจัย การปฏิบัติ และการบริการที่ครอบคลุมงานการแปลผลภาพรังสีเพื่อให้การวินิจฉัย การวางแผนและติดตามการรักษารอยโรค หรือ ความผิดปกติของศีรษะ ลำคอ ช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียล ที่มีการบูรณาการการเรียนร่วมกับทั้งสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียล แขนงเวชศาสตร์ช่องปาก แขนงทันตพยาธิวิทยา และสาขานิติทันตวิทยา รวมทั้งมีความร่วมมือในการวิจัยกับนักวิจัยพันธมิตรในต่างประเทศ
สำหรับผู้ที่ผ่านการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวยังสามารถต่อยอดในการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก แขนงสาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์ได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรที่เพียบพร้อมในการผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียล ที่มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรมและมีความเป็นผู้นำ รวมทั้งไปเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทันตสุขภาพของประเทศ และของโลกต่อไป

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

  • อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
  • นักวิจัยในสถาบันวิจัย หรือหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน
  • ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขารังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียลประจำคลินิกหรือสถานพยาบาล
hg3 students คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg5 lab คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาต้น
สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย
มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน
มิถุนายน – กรกฎาคม

การสมัครเข้าศึกษา

Applicants must be physically and mentally healthy. A medical examination report and x-ray must be submitted to the office of graduate studies on the interview day.

Contact office of the graduate studies for any inquiries: Tel. 662-218-9016, 662-218-9021

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียน 73,000 บาท

นิสิตเก่า

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชารังสีวิทยา

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 10 อาคารสมเด็จย่า
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • Tel. +66 2218 8780
  • Email graddentcu@gmail.com
  • Facebook

อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร

  • ผศ.ทพ. พลกฤษณ์ ศิลป์พิทักษ์สกุล

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.