Oral and Maxillofacial Surgery

Program details

Higher Graduate Diploma in Clinical Sciences Program in Oral and Maxillofacial Surgery

shutterstock 439140979 Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University

3

YEARS

FULL-TIME

Degree:

Certificate: Higher Graduate Diploma in Clinical Sciences in Oral and Maxillofacial Surgery

Language of instruction:

Thai, English

Total credits:

82 credits

Highlights:

  • ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ดี และต่อยอดความรู้ขั้นสูง
  • คิดเป็น และทำได้
  • เทคโนโลยีล้ำสมัย

ความเป็นมาของหลักสูตร

ขอบเขตของงานและปริมาณความต้องการการดูแลรักษาด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลนั้นมีหลายระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่งานที่ไม่ซับซ้อนไปจนถึงงานที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ในปัจจุบัน มีประชาชนที่ต้องการทำรากฟันเทียมเป็นจำนวนมาก ซึ่งทันตแพทย์ที่สนใจด้านนี้ก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพื่อให้ผลการรักษาออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ ทันตแพทย์ที่ผ่าตัดทำรากฟันเทียมควรมีพื้นฐานด้านศัลยกรรมช่องปากที่ดี และสามารถต่อยอดเพื่อให้การรักษาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

คณะทันตแพทยศาสตร์จึงได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียมขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับทันตแพทย์ผู้สนใจได้เพิ่มพูนความรู้และความสามารถในงานศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียมที่สูงขึ้นในระดับกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดทำรากฟันเทียมและการผ่าตัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อน เพื่อผลิตทันตแพทย์ที่สามารถทำศัลยกรรมช่องปากและรากฟันเทียมได้ อันเป็นที่ต้องการของสังคมในปัจจุบันนี้

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

national cancer institute 701 FJcjLAQ unsplash Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
1

ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ดีและต่อยอดความรู้ขั้นสูง

เนื่องจากเชื่อว่าการพัฒนาต่อยอดต่างๆ ให้ได้ผลดีและยั่งยืน ต้องเริ่มจากการมีพื้นฐานที่ดีก่อนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานต่างๆ อย่างครบถ้วน สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้ ส่งผลให้นิสิตสามารถศึกษาความรู้ขั้นสูงได้ดียิ่งขึ้น เกิดการเชื่อมโยงความรู้เบื้องต้นกับความรู้ขั้นสูงขึ้น เกิดความสนุกสนานในการเรียนและสามารถศึกต่อต่อได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา แม้ว่าจะจบการศึกษาไปแล้ว

2

คิดเป็นและทำได้

นิสิตจะได้รับการฝึกให้มีการคิดเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ในมิติต่างๆ ผ่านการสัมมนา วารสารสโมสร และเคสผู้ป่วยจริง หลักสูตรเน้นให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติในผู้ป่วยจริงๆ อย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด และส่งเสริมให้ฝึกผ่าตัดเพิ่มเติมในอาจารย์ใหญ่ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี

3

เทคโนโลยีล้ำสมัย

การเรียนการสอนจะใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อให้นิสิตมีโอกาสได้เปิดโลกกว้างของการศึกษา สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีประกอบการวางแผนการรักษา รวมถึงให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม คิดค้นวิธีการที่จะพัฒนาการรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีที่สุด เทคโนโลยีที่ใช้เช่น Guided surgery, Navigation, Virtual surgical planning เป็นต้น

ความร่วมมือ

  • ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
  • กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลตากสิน
  • งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กองทันตกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร

สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่หลักสูตรภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาศัลยศาสตร์ ตั้งขึ้นพร้อมกับกำเนิดคณะทันตแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2483 โดยมีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล การบริการ รวมทั้งงานวิจัย มาอย่างยาวนาน ตลอดเวลากว่า 80 ปี ภาควิชาฯ มีคณาจารย์ และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้การช่วยเหลือให้งานด้านต่างๆ สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน ภาควิชาประกอบด้วย คณาจารย์ 18 คน บุคลากรทั้งพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ธุรการ รวม 8 คน ให้บริการการเรียนการสอนนิสิตในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (พีจี) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (ป.โท) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม (หลักสูตรนานาชาติ) (ป.สูง) และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล  (เรสซิเดนท์) โดยแต่ละหลักสูตรมีจุดเน้นร่วมกันในด้านการให้ความรู้ทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล แต่ต่างกันที่ระยะเวลาในการศึกษาต่างกันตั้งแต่ 1-4 ปี จำนวนชั่วโมงการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ และความลุ่มลึกของงานวิจัย โดยการเรียนการสอนทั้งหมดจะอยู่ทั้งในคณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลคณะฯ ซึ่งประกอบด้วยคลินิกศัลยศาสตร์ ห้องวิจัยทางคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ห้องตรวจศัลยกรรม ห้องผ่าตัด หออภิบาล เป็นต้น นอกจากนี้นิสิตยังได้มีโอกาสไปหมุนเวียนฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลเครือข่ายทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด เพื่อให้ได้ประสบการณ์ในเคสต่างๆที่ไม่สามารถพบในคณะฯ เพิ่มขึ้น

อนึ่งภาควิชาฯ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างสูงที่จะผลิตบุคลากรทางทันตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญด้านศัลยศาสต์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม เพื่อออกไปให้บริการแก่ประชาชนที่มีความจำเป็นทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ในสัดส่วนและความจำเป็นต่อการรักษาโรคที่ประชาชนประสบปัญหา โดยอาศัยทั้งความรู้ ทักษะ และงานวิจัยที่ได้ศึกษาจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
รศ.ดร.ทพ.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ

หัวหน้าภาควิชา

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

  • ทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม
  • อาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งสอนเกี่ยวกับสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
Oral and Maxillofacial Surgery 01 Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
Oral and Maxillofacial Surgery 02 Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
Oral and Maxillofacial Surgery 03 Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

  • หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา 3 ปี

แผนการศึกษา

  • 3 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 6 ภาคการศึกษา

Curriculum

หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา 3 ปี ประกอบด้วย

รายวิชาบังคับ
39 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก
7 หน่วยกิต
รายวิชาปฏิบัติการคลินิก
36 หน่วยกิต
รวมทั้งหมด
82 หน่วยกิต

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาต้น
สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย
มกราคม – พฤษภาคม

*** ในเดือนกรกฎาคม ก่อนการเปิดการเปิดการศึกษาตามตารางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย จะมีการเรียนปรับพื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการดูแลรักษาผู้ป่วย และนิสิตสามารถฝึกปฏิบัติงานในคลินิกได้ตลอดทั้งปีการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไป

การสมัครเข้าศึกษา

ขั้นตอนการสมัคร

  1. ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครที่ www.dent.chula.ac.th/grad  (หัวข้อ Admission and Registration News)
  2. ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร ผ่าน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    ชื่อบัญชี “คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ”
    สาขาสยามสแควร์
    เลขที่บัญชี 026-2-70085-2
    โดยชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 1,000 บาท
  3. ส่งใบสมัคร หลักฐานการชำระค่าสมัครและเอกสารประกอบทั้งหมด (ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและรหัสหลักสูตร) ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ที่

ฝ่ายบัณฑิตศึกษา 
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 10  อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80  
34 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 
(ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไม่เกิน 1 วัน หลังวันสุดท้ายของการรับสมัครทางไปรษณีย์)

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. สำเนาหนังสือรับรองผลการเรียนในระดับปริญญาตรี (Transcript) 1 ฉบับ พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
  2. ผลการคะแนนภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 2 ปี หรือสำเนา พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ 1 ฉบับ พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
  4. สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
  5. หนังสือรับรองการทำงาน อย่างน้อย 1 ฉบับ
  6. มีคะแนน GPAX ไม่น้อยกว่า 2.7
  7. หัวข้องานวิจัยที่สนใจ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

  1. สำเร็จปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ ก.พ. หรือ ทันตแพทยสภารับรอง
  2. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศนั้นๆ ของผู้เข้าศึกษา และเคยประกอบอาชีพในสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ได้คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป โดยให้ใช้ผลคะแนนที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบถึงวันประกาศผลสอบคัดเลือก (ทั้งนี้หากได้ผลคะแนนสอบ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป อาจพิจารณารับเข้าศึกษาแต่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตตาม “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตและหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต พ.ศ.2557” ก่อนสำเร็จการศึกษา
  4. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร/แขนงวิชา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

ช่วงเวลาการรับสมัคร

ช่วงเวลาในการรับสมัครจะขึ้นอยู่กับประกาศของบัณฑิตมหาวิทยาลัย ซึ่งในรอบแรกมักจะจัดให้มีการสมัครในช่วงของเดือนธันวาคมของทุกปี

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียน
ภาคการศึกษาละ 48,000 บาท
ค่าธรรมเนียม
ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารทันตกรรม 1
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8581
  • โทรสาร 0 2218-8581
  • Facebook