ความเป็นมาของหลักสูตร
ขอบเขตของงานและปริมาณความต้องการการดูแลรักษาด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลนั้นมีหลายระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่งานที่ไม่ซับซ้อนไปจนถึงงานที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ในปัจจุบัน มีประชาชนที่ต้องการทำรากฟันเทียมเป็นจำนวนมาก ซึ่งทันตแพทย์ที่สนใจด้านนี้ก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพื่อให้ผลการรักษาออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ ทันตแพทย์ที่ผ่าตัดทำรากฟันเทียมควรมีพื้นฐานด้านศัลยกรรมช่องปากที่ดี และสามารถต่อยอดเพื่อให้การรักษาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้
คณะทันตแพทยศาสตร์จึงได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียมขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับทันตแพทย์ผู้สนใจได้เพิ่มพูนความรู้และความสามารถในงานศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียมที่สูงขึ้นในระดับกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดทำรากฟันเทียมและการผ่าตัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อน เพื่อผลิตทันตแพทย์ที่สามารถทำศัลยกรรมช่องปากและรากฟันเทียมได้ อันเป็นที่ต้องการของสังคมในปัจจุบันนี้
ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?
ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ดีและต่อยอดความรู้ขั้นสูง
เนื่องจากเชื่อว่าการพัฒนาต่อยอดต่างๆ ให้ได้ผลดีและยั่งยืน ต้องเริ่มจากการมีพื้นฐานที่ดีก่อนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานต่างๆ อย่างครบถ้วน สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้ ส่งผลให้นิสิตสามารถศึกษาความรู้ขั้นสูงได้ดียิ่งขึ้น เกิดการเชื่อมโยงความรู้เบื้องต้นกับความรู้ขั้นสูงขึ้น เกิดความสนุกสนานในการเรียนและสามารถศึกต่อต่อได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา แม้ว่าจะจบการศึกษาไปแล้ว
คิดเป็นและทำได้
นิสิตจะได้รับการฝึกให้มีการคิดเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ในมิติต่างๆ ผ่านการสัมมนา วารสารสโมสร และเคสผู้ป่วยจริง หลักสูตรเน้นให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติในผู้ป่วยจริงๆ อย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด และส่งเสริมให้ฝึกผ่าตัดเพิ่มเติมในอาจารย์ใหญ่ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี
เทคโนโลยีล้ำสมัย
การเรียนการสอนจะใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อให้นิสิตมีโอกาสได้เปิดโลกกว้างของการศึกษา สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีประกอบการวางแผนการรักษา รวมถึงให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม คิดค้นวิธีการที่จะพัฒนาการรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีที่สุด เทคโนโลยีที่ใช้เช่น Guided surgery, Navigation, Virtual surgical planning เป็นต้น
ความร่วมมือ
สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร
รศ.ดร.ทพ.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ
หัวหน้าภาควิชา
คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ
รายละเอียดหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
- หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา 3 ปี
แผนการศึกษา
- 3 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 6 ภาคการศึกษา
Curriculum
หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา 3 ปี ประกอบด้วย
รายวิชาบังคับ |
39 หน่วยกิต |
รายวิชาเลือก |
7 หน่วยกิต |
รายวิชาปฏิบัติการคลินิก |
36 หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด |
82 หน่วยกิต |
ปฏิทินการศึกษา
ภาคการศึกษาต้น |
สิงหาคม – ธันวาคม |
ภาคการศึกษาปลาย |
มกราคม – พฤษภาคม |
*** ในเดือนกรกฎาคม ก่อนการเปิดการเปิดการศึกษาตามตารางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย จะมีการเรียนปรับพื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการดูแลรักษาผู้ป่วย และนิสิตสามารถฝึกปฏิบัติงานในคลินิกได้ตลอดทั้งปีการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไป
การสมัครเข้าศึกษา
ขั้นตอนการสมัคร
- ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครที่ www.dent.chula.ac.th/grad (หัวข้อ Admission and Registration News)
- ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร ผ่าน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อบัญชี “คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ”
สาขาสยามสแควร์
เลขที่บัญชี 026-2-70085-2
โดยชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 1,000 บาท - ส่งใบสมัคร หลักฐานการชำระค่าสมัครและเอกสารประกอบทั้งหมด (ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและรหัสหลักสูตร) ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ที่
ฝ่ายบัณฑิตศึกษา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
34 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
(ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไม่เกิน 1 วัน หลังวันสุดท้ายของการรับสมัครทางไปรษณีย์)
เอกสารประกอบการสมัคร
- สำเนาหนังสือรับรองผลการเรียนในระดับปริญญาตรี (Transcript) 1 ฉบับ พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
- ผลการคะแนนภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 2 ปี หรือสำเนา พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ 1 ฉบับ พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พร้อมลงนาม รับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือรับรองการทำงาน อย่างน้อย 1 ฉบับ
- มีคะแนน GPAX ไม่น้อยกว่า 2.7
- หัวข้องานวิจัยที่สนใจ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
- สำเร็จปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ ก.พ. หรือ ทันตแพทยสภารับรอง
- ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศนั้นๆ ของผู้เข้าศึกษา และเคยประกอบอาชีพในสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ได้คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป โดยให้ใช้ผลคะแนนที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบถึงวันประกาศผลสอบคัดเลือก (ทั้งนี้หากได้ผลคะแนนสอบ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป อาจพิจารณารับเข้าศึกษาแต่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตตาม “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตและหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต พ.ศ.2557” ก่อนสำเร็จการศึกษา
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร/แขนงวิชา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
ช่วงเวลาการรับสมัคร
ช่วงเวลาในการรับสมัครจะขึ้นอยู่กับประกาศของบัณฑิตมหาวิทยาลัย ซึ่งในรอบแรกมักจะจัดให้มีการสมัครในช่วงของเดือนธันวาคมของทุกปี
ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม
ค่าเล่าเรียน |
ภาคการศึกษาละ 48,000 บาท |
ค่าธรรมเนียม |
ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท |
ติดต่อหลักสูตร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารทันตกรรม 1
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
Subscribe
TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER
To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา