ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยา

Immunology Research Center

สนับสนุนการผลิตงานวิจัยในด้านอิมมูโนวิทยาทางทันตแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระดับชาติและนานาชาติ โดยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อนำไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่มีประโยชน์ทางทันตแพทย์และการแพทย์

ความเป็นมา

divider heading คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยากำกับดูแลโดยฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยานี้ เริ่มต้นจากการก่อตั้งห้องปฏิบัติการอิมมูโนวิทยาในปี พ.ศ. 2544 และได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยาในปี พ.ศ. 2561 โดยมี ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร. รังสินี มหานนท์ เป็นผู้นำตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ

immuno1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
immuno2 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตลอด 20 ปี พันธกิจหลักของห้องปฏิบัติการ/ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยา คือ การสนับสนุนการผลิตงานวิจัยในด้านอิมมูโนวิทยาทางทันตแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระดับชาติและนานาชาติ โดยผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อนำไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่มีประโยชน์ทางทันตแพทย์และการแพทย์ เช่น นวัตกรรมชีววัตถุ mRNA (patent : WO/2021/150891 (CU & Upenn), title: The use of growth factor-encoding nucleoside-modified mRNA for periodontal tissue and bone regeneration)

immuno3 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
immuno4 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ พันธกิจหลักที่สำคัญของศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยา คือ งานบริการ ซึ่งได้มีการนำระบบ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในการจัดการระบบคุณภาพบริการในปี พ.ศ. 2559 และได้รับการรับรองคุณภาพ ISO 9001 : 20015 ในปี พ.ศ. 2561 ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยาให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ภายใต้ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติตามระบบ ISO 9001 : 2015 เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ให้บริการ ได้แก่ 1. Flow Cytometer ยี่ห้อ BD รุ่น FACSCalibur  2. Microplate Reader ยี่ห้อ Anthos รุ่น Zenyth 200rt  

immuno7 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Flow Cytometer ยี่ห้อ BD รุ่น FACSCalibur
immuno6 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Microplate Reader ยี่ห้อ Anthos รุ่น Zenyth 200rt

การดำเนินงานศูนย์วิจัยฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำเนินการตามนโยบายคุณภาพของฝ่ายวิจัย “ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นในการให้บริการด้านการวิจัยเเละนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบคุณภาพมาตรฐานสากลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณที่ดี”

immuno5 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุคลากร

divider heading คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Professor Dr.RANGSINI MAHANONDA คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ทพญ.ดร.รังสินี มหานนท์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยา

S 72343614 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายนพดล สะอาดเอี่ยม

เจ้าหน้าที่

S 72343615 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นางสาวพิมพ์ประภา ฤกษ์เย็น

เจ้าหน้าที่

ติดต่อหน่วยงาน

divider heading คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์วิจัยอิมมูโนวิทยา

ห้อง 1016 ชั้น 10 อาคารสมเด็จย่า 93
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34 ถนนอังรีดูนังต์
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร
10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8861 – 62
  • โทรสาร 0 2218 8861