ce oral micro immuno logo คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน

Center of Excellence on Oral Microbiology and Immunology

เป้าหมาย

ส่งเสริมการทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่  นวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ ที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อประจำถิ่นและเชื้อก่อโรคที่สำคัญในช่องปาก การตอบสนองของร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในคลินิกทันตกรรม และเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการด้านจุลชีววิทยาช่องปาก วิทยาภูมิคุ้มกัน และการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสำหรับวงการวิชาชีพทันตแพทยศาสตร์

นักวิจัย

รศ.ทญ.ดร.อรนาฎ มาตังคสมบัติ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.อรนาฎ มาตังคสมบัติ

Profile

Research Highlights

  • Candida and oral microbiome: (with Anjalee, Aroonwan, and others)
    • Oral Candida colonization and microbiome: Aging, hyposalivation, post-radiotherapy head & neck cancer patients with xerostomia, oral lichen planus (OLP), cognitive impairment, diabetes
    • Antifungal agents & applications: chitosan, antifungal drug resistance
    • Candida albicans DNA repair, DNA-protein crosslink repair, resistance to oxidative stress
  • Dental caries: (with Panida, Waranuch and others)
    • Salivary bacteriome & mycobiome analysis in toddlers for future caries prediction
    • Cross-kingdom interactions between Candida species & S.mutans and other bacteria
    • Anti-microbial, anti-biofilm materials: chitosan, MPC
  • Collaborative research:
    • Oral mucositis model (with Joao)
รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์

Profile

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รศ.ทพญ.ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ มีความสนใจในงานวิจัยเกี่ยวกับ การควบคุมการติดเชื้อในคลินิกทันตกรรม โดยเฉพาะการหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อในระบบน้ำของยูนิตทำฟัน โดยได้ทำงานวิจัยหัวข้อนี้ต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 15 ปี นอกจากนี้ยังทำวิจัยร่วมกับอาจารย์จากภาควิชาทันตกรรมหัตถการเพื่อหาสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อในคลองรากฟันในงานรักษาคลองรากฟัน นอกจากนี้ยังมีความสนใจเกี่ยวกับชีววิทยาช่องปาก ความสัมพันธ์ของเกลือและวิตามินซีต่อการหายของแผลในช่องปาก โดยมีการต่อยอดงานวิจัยในห้องปฏิบัติการสู่การทดลองในคลินิกโดยทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์  รวมทั้งการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกจาก Chitosan และ Biphasic Calcium Phosphate และการเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาของเซลล์สร้างกระดูกของยา Trochostatin A (HDAC inhibitors)

โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • Infection control in dentistry การควบคุมการติดเชื้อในคลินิกทันตกรรม
  • Oral Biology ชีววิทยาช่องปาก
  • Bone regeneration การเสริมสร้างกระดูกทดแทน
ผศ.ทญ.ดร.อัญชลี วัชรักษะ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.อัญชลี วัชรักษะ

Profile

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นแร่ธาตุที่พบเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของกระดูกและฟัน ดังนั้นกลุ่มวิจัยของเราจึงให้ความสนใจในการสังเคราะห์อนุภาคไฮดรอกซีอะพาไทต์ เพื่อนำมาเป็นระบบนำส่งยาสำหรับการสร้างและทดแทนกระดูกที่สูญเสียไปในบริเวณกะโหลกศีรษะและใบหน้า รวมถึงการพัฒนาโมเดลต้นแบบในหนูทดลองสำหรับศึกษาความผิดปกติจากการใช้ยาต่อการหายของแผลถอนฟันแล้วทำให้เกิดกระดูกตาย ซึ่งการใช้อนุภาคไฮดรอกซีอะพาไทต์ร่วมกับการทำหน้าที่ของไมโครอาร์เอนเอยังทำให้เพิ่มโอกาสการเจริญของเนื้อเยื่อแข็งได้  ดังนั้นกลุ่มของเราจึงกำลังศึกษาและพัฒนาการนำไปใช้ของอนุภาคไฮดรอกซีอะพาไทต์ในเนื้อเยื่อภายในตัวฟัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อฟันใหม่ ลดการอักเสบ และรักษาความมีชีวิตของเนื้อเยื่อภายในตัวฟัน

โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • Delivery of HA-NPs with miRNAs in cells and tissue
  • Delivery of Bone scaffolds and HA-NPs-miRNAs into cells
  • Bone scaffolds and HA-NPs-miRNAs for critical-sized bone defect
  • Bone scaffolds and HA-NPs-miRNAs for critical-sized bone defect
รศ.ทญ.ดร.พนิดา ธัญญศรีสังข์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.พนิดา ธัญญศรีสังข์

Profile

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่สนใจจะมุ่งเน้นการป้องกันฟันผุโดยศึกษาเชื้อก่อโรคและกลไกการเกิดโรค เช่น ผลของ dual- species biofilm ต่อปัจจัยก่อโรคฟันผุ (cariogenic virulent factors) เพื่อทำความเข้าใจบทบาทของจุลินทรีย์ที่ เกี่ยวข้องและหาแนวทางควบคุม รวมถึงการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีสารฆ่าเชื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ป้องกันฟันผุ โดยเน้นการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และผลต่อจุลินทรีย์ในช่องปาก งานวิจัยนี้จะช่วยให้เข้าใจ กระบวนการเกิดฟันผุได้ดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้นในทาง ทันตกรรม

โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • การศึกษาผลของ dual-species biofilm (eg. Streptococcus mutans vs Candida spp.) ต่อ cariogenic virulence (ร่วมกับ อ.อรนาฎ)
  • พัฒนาวัสดุต้านเชื้อจุลชีพ และต้านไบโอฟิล์ม (ร่วมกับ อ.อรนาฎ อ.ภาสิรี และอาจารย์ท่านอื่น ๆ)
ภาสิรี ทองไทย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ.ทพญ.ดร.ภาสิรี ทองไทย

Profile

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการใช้งานของวัสดุทางทันตกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่วัสดุและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของวัสดุทางทันตกรรม เช่น สารยึดติดทางทันตกรรมและวัสดุบูรณะฟันเพื่อให้มีคุณสมบัติทางชีวภาพ โดยเฉพาะด้านการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดฟันผุ และการเสริมสร้างแร่ธาตุให้กับฟัน ซึงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุและพัฒนาความทนทานของวัสดุทางทันตกรรม ซึ่งช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในด้านทันตกรรมบูรณะและเพิ่มความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วย