การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร
แม้ว่า บุหรี่ และแอลกอฮอล์ จะได้รับการอนุญาตให้จัดจำหน่ายได้ภายในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เราคงไม่อาจมองข้ามผลกระทบที่จะเกิดจากมันได้
“บุหรี่ ส่งผลร้ายมากกว่าที่คุณคิด”
เนื่องจากในบุหรี่มีสารนิโคติน รวมถึงสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย การสูบบุหรี่อย่างเป็นประจำนั้น จึงเป็นพฤติกรรมที่ค่อย ๆ สะสมสารพิษในร่างกายและส่งผลให้ มีกลิ่นปาก ฟันเหลือง เกิดคราบหินปูน รวมถึงในผู้ที่มีแผลในช่องปาก ก็จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงทำให้แผลหายช้ากว่าเดิมอีกด้วย
ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ สามารถพบอาการ เหงือกอักเสบ เหงือกร่น ฟันโยก ฟันผุ และถ้าไม่ทำการดูแลรักษาก็จะสูญเสียฟันไปในที่สุดนั่นเอง
แอลกอฮอล์ มีผลต่ออวัยวะหลายส่วนภายในของร่างกายเลย ทั้งสมอง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหารและตับ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์ รวมถึงวงจรการนอนหลับ
ในขณะเดียวกันอวัยวะส่วนแรกที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ก็คือ อวัยวะภายในช่องปากทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ฟัน เหงือก ผนังแก้ม และเยื่อบุต่าง ๆ ทำให้เนื้อเยื่อในช่องปากแห้ง เกิดการสะสมของคราบแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น และแอลกอฮอล์ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มักจะละเลยการดูแลความสะอาดในช่องปาก เป็นสาเหตุของโรคในช่องปากตามมา
ผู้ตรวจบทความ: รศ.ทญ.อรวรรณ จรัสกุลางกูร
อาจารย์ประจำภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความรู้ก่อนหน้า / ถัดไป
ความรู้ก่อนหน้า / ถัดไป
คลังความรู้