เนื่องในโอกาสครบรอบ 84 ปีแห่งการสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะฯ ได้จัดโครงการบริการทางทันตกรรมทั้งการรักษาแบบไม่มีค่ารักษาและการคิดค่ารักษาในราคาพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองและร่วมก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของคณะภายใต้แนวคิด the New Era of Excellence and Innovation in Dentistry
งานทันตกรรมจัดฟัน
คิดค่าบริการทางทันตกรรมจัดฟันสำหรับผู้ป่วยใหม่เพียง 84% ของค่ารักษาตามปกติ (สำหรับผู้ป่วยทุกรายที่เริ่มการรักษาในช่วงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ – 16 พฤษภาคม 2567)
งานทันตกรรมรากเทียม
คิดค่าทำรากเทียมซี่ละ 8,400 บาท (จากราคาค่ารักษาปกติ ซี่ละ xx,xxx บาท) จำกัดจำนวน 84 ซี่
งานอุดฟัน
เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาทางทันตกรรมบูรณะให้กับผู้ป่วยที่มีความต้องการอุดฟันทั้งในฟันหน้าและฟันหลัง รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย
ผู้เข้าร่วมโครงการ
- ผู้ป่วยในคิวบูรณะฟันทั้งปากหรือเฉพาะซี่สำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตของภาควิชาทันตกรรมหัตถการที่มีความประสงค์จะรับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น (ไม่รวมค่ารักษาเพิ่มเติมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)
- ผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจจากอาจารย์ประจำสาขาทันตกรรมหัตถการและพิจารณาว่าเป็นฟันที่มีความเหมาะสมกับโครงการ
- ต้องไม่มีสิทธิ์เบิกค่าอุดฟันจากสิทธิราชการ รัฐวิสาหกิจ ประกันสุขภาพ เป็นต้น
อุดฟันฟรี 84 วันทำการ โดยรับบริการที่คลินิกปริญญาบัณฑิต (เริ่ม 5 มกราคม 2567 ถึง 8 พฤษภาคม 2567)
งานทันตกรรมบดเคี้ยว
รักษาผู้ป่วยปวดข้อต่อขากรรไกรฟรี 84 ราย หากต้องใส่เฝือกสบฟันคิดค่าเฝือกสบฟัน 84 บาท
งานรักษารากฟัน
รักษาคลองรากฟันหน้าและฟันกรามน้อยฟรี 84 ซี่ ผู้ป่วยใหม่ที่มีความประสงค์จะรับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ ต้องผ่านการตรวจจากอาจารย์ประจำสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์และพิจารณาว่าเป็นฟันที่มีความเหมาะสมกับโครงการ (ต้องไม่มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาคลองรากฟันจากสิทธิ์ราชการ รัฐวิสาหกิจ) โดยรับบริการที่คลินิกปริญญาบัณฑิต รวมทั้งหมด 84 ซี่ (ไม่รวมค่าบูรณะฟันหรือค่ารักษาเพิ่มเติมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 จนกว่าจะครบตามจำนวน
งานศัลยกรรมผ่าตัดเหงือก
งานศัลยกรรมปริทันต์ 840 บาท / 84 ราย
วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโรคปริทันต์ขั้นแก้ไข ให้แก่ผู้ป่วยที่มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์จากโรคหรือความผิดปกติของเหงือกและเยื่อเมือก หรือการทำศัลยกรรมปริทันต์ในลักษณะสหสาขา เพื่อให้อวัยวะปริทันต์แข็งแรงขึ้น ฟันทำหน้าที่ได้ดีขึ้น และลดโอกาสการสูญเสียฟัน
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- ผู้ป่วยในคิวการรักษาโรคปริทันต์ขั้นแก้ไขของคลินิกบัณฑิตศึกษา
- ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากคลินิกปริญญาบัณฑิตหรือจากภาควิชาอื่นๆ ที่ผ่านการเตรียมช่องปากหรือผ่านการรักษาโรคปริทันต์ขั้นควบคุมอนามัยช่องปากแล้ว
- ผู้ป่วยต้องผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ในภาควิชาปริทันตวิทยาว่าเป็นเคสที่เหมาะสม
- ผู้ป่วยจะได้รับการพิจารณาจากลำดับคิวการรักษา
- ผู้ป่วยจะได้รับการพิจารณาตามสิทธิ์การเบิกค่ารักษา โดยหากมีสิทธิ์การรักษาอื่นๆ ที่ครอบคลุมค่ารักษาอยู่แล้ว จะไม่เข้าข่ายผู้เข้าร่วมโครงการ