หลักสูตร
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

Doctor of Dental Surgery Program (D.D.S.)

ดาวน์โหลดเอกสารชี้แจงหลักสูตร

IMG 0765 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

6 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

ปริญญาตรี

ชื่อปริญญา

ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.)

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย

จำนวนหน่วยกิต

230 หน่วยกิต

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ที่

  1. มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพเพียงพอ ต่อทั้งการปฏิบัติงานทางทันตสาธารณสุข การปฏิบัติงานเป็นทันตแพทย์ทั่วไป มีการดำรงตนตามกฎหมายวิชาชีพ
  2. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
  3. มีทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมที่ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ซักประวัติ ตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา บำบัดรักษาและทำปฏิบัติการทางคลินิกโดยคำนึงถึงข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
  4. มีทักษะในการปฏิบัติงานและดำรงตนในชุมชนและสังคม ได้แก่ การปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม และการบริหารจัดการ โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางร่างกาย จิตใจ สังคม และวัฒนธรรมทั้งในระดับบุคคลและชุมชน มีความสามารถในการปรับตัวและแก้ปัญหา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบท
  5. มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติให้เป็นบุคคล ที่มีคุณค่าต่อสังคม และมีความสามารถในการสืบค้นจัดการข้อมูลข่าวสารก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถทำการศึกษาวิจัย ฝักใฝ่ในการศึกษาต่อระดับสูง และการศึกษาด้วยตนเองในอนาคต

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

IMG 0740 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1

จัดการเรียนการสอนตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพของบัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภาวิชาชีพ

2

มีการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตร

3

มีการเรียนการสอนที่เป็นลักษณะปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนในลักษณะการเรียนเชิงรุก (active learning) ผ่านทางรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น problem-based learning และ case-based learning อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้นิสิตสามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

4

การเรียนเชิงรุกมีความแตกต่างกันไปในแต่ละชั้นปี โดยในปีที่ 1-3 จะเป็นในลักษณะ problem-based learning และในชั้นที่เป็นการเรียนการสอนทางคลินิก ก็จะเป็นการเรียนการสอนแบบ case-based learning

5

เนื้อหาการเรียนการสอนมีลักษณะบูรณาการที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

6

มีรายวิชาเลือกบังคับหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นิสิตสามารถมีความรู้ในด้านที่สนใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา

7

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของบัณฑิตและหลักสูตร อิงตามสมรรถนะของสภาวิชาชีพ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 14 ประเด็น ดังนี้ 1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก) 2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ) 3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา) 4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ) 5. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้) 6. มีภาวะผู้นำ 7. มีสุขภาวะ 8. มีจิตอาสาและสำนึก สาธารณะ 9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรมีลักษณะเด่น คือ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ของทันตแพทยสภา มีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะวิชาชีพ (professional competencies) มีทักษะความสามารถด้านการประมวลความรู้ภาคทฤษฎี บูรณาการสู่การปฏิบัติ มีความรู้และทักษะในวิชาชีพทันตกรรม รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพทันตกรรม สามารถค้นคว้าและติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อนำมาใช้กับการทำงานในวิชาชีพทันตกรรม เพื่อให้บริการการรักษาสุขภาพในช่องปากของประชาชนได้อย่างเหมาะสม มีศักยภาพในการวิจัย และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเอง ผู้ใช้บริการ และเพื่อนร่วมงาน และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

หน่วยงานภายในจุฬาฯ

ได้แก่ คณะอื่นๆ ที่เปิดสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเลือกเสรี

หน่วยงานภายนอกจุฬาฯ

  • กระทรวงสาธารณสุข โดยร่วมมือในลักษณะ อนุญาตให้นิสิตไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในสังกัด
  • กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยร่วมมือในลักษณะ อนุญาตให้นิสิตไปฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัด
  • กระทรวงมหาดไทย โดยร่วมมือในลักษณะ อนุญาตให้นิสิตไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในสังกัด
  • กระทรวงศึกษาธิการ โดยร่วมมือในลักษณะ อนุญาตให้นิสิตไปฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน
IMG 0690 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
IMG 0722 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
IMG 0703 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ทันตแพทย์ประจำโรงพยาบาล/สถานพยาบาล/หน่วยงานในภาครัฐและเอกชน
  • อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐและเอกชน
  • ประกอบธุรกิจทางทันตกรรม

สถานที่จัดการเรียนการสอน

ในสถานที่ตั้ง

จัดสอนกลุ่มวิชาเฉพาะในคณะทันตแพทยศาสตร์ และฝึกปฏิบัติงานคลินิกในโรงพยาบาลทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกสถานที่ตั้ง

  • กระทรวงสาธารณสุข ฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในสังกัด
  • กรุงเทพมหานคร (กทม.) ฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลในสังกัด
  • กระทรวงมหาดไทย ฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในสังกัด
  • กระทรวงศึกษาธิการ ฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน

โครงสร้างหลักสูตร

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
230 หน่วยกิต
ประกอบด้วย
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสหศาสตร์
3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ
12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ
6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ
194 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ
186 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกบังคับ
8 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต

การสมัครเข้าศึกษา

การรับเข้าศึกษา

รอบที่ 1 Portfolio

ติดตามได้ที่ https://admission.chula.ac.th/

รอบที่ 2 Quota ติดตามได้ที่ 

ติดตามได้ที่ https://admission.chula.ac.th/

  1. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
  2. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนโครงการรับนักเรียนจากชนบทเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โครงการจุฬา-ชนบท) โครงการสืบสานปณิธานสมเด็จย่าทันตแพทย์จุฬาฯ-ชนบท โดยความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข

รอบที่ 3 โครงการรับตรง ร่วมกับกสพท.

ติดตามได้ที่ https://cotmesadmission.com/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

งานบริการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8652 – 54, 0 2218 8657
  • Email academicdent@chula.ac.th, academicgroup.dent@gmail.com