ฟันกร่อนจากสระว่ายน้ำ!?
ในวันหยุด หลาย ๆ คนคงได้กลับต่างจังหวัด ไปเที่ยว ไปพักผ่อนกัน บางคนเลือกไปภูเขา ไปทะเล ส่วนแอดมินขอเที่ยวแถว ๆ สระว่ายน้ำในหมู่บ้านก็พอ ^^”
โพสต์นี้เลยอยากมาแชร์สาระน่ารู้เกี่ยวกับน้ำในสระว่ายน้ำกัน โดยปกติแล้วสระว่ายน้ำนั้นจะมีการใส่สารลงไปผสมกับน้ำในสระ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและช่วยให้น้ำใสสะอาด เช่น คลอรีน หรือว่าจะเป็นการใช้ “เกลือธรรมชาติ” ในการฆ่าเชื้อโรค
โดยที่สระน้ำแบบคลอรีน นั้นจะเป็นการนำคลอรีนไปผสมในสระว่ายน้ำ โดยมีข้อบังคับกรุงเทพมหานครในการจัดตั้งสระว่ายน้ำ พ.ศ. 2530 ที่มีการกำหนดให้ค่ากรดด่างของน้ำอยู่ในช่วง 7.2 – 8.4 โดยจะต้องตรวจวัดทุกวัน เเละต้องปรับสมดุลกรดเบสของน้ำในสระเมื่อน้ำมีความเป็นกรดที่มากเกินไปดูเผิน ๆ มันเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวนะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าของความเป็นกรด-ด่างนี้ ส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้บริการอย่างเรา ๆ เพราะถ้าหากค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำมีมากเกินกว่ามาตรฐาน ก็จะส่งผลให้น้ำมีความเป็นกรดมากขึ้น เเละอาจส่งผลให้เกิดภาวะฟันกร่อนจากการว่ายน้ำ ได้เลยแหละ!
โดยฟันที่กร่อนมักจะเป็นบริเวณฟันหน้าที่สัมผัสกับน้ำโดยตรง โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องนอกจากความความเป็นกรดของน้ำ ได้เเก่ ความถี่ เเละระยะเวลาที่สัมผัสกับน้ำ โดยผู้ที่ว่ายน้ำมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลามากกว่า 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการว่ายน้ำเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ จะมีความเสี่ยงต่อภาวะฟันกร่อนจากการว่ายน้ำที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก โดยฟันจะมีลักษณะการสึกกร่อนที่ชั้นเคลือบฟัน หรือเนื้อฟัน ซึ่งส่งผลในเรื่องความสวยงาม, การบดเคี้ยว เเละ อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้
ดังนั้นการใช้บริการสระน้ำครอรีนที่ได้มาตรฐาน, การใช้สระน้ำเกลือธรรมชาติ, การควบคุมระยะเวลาเเละความถี่ในการว่ายน้ำ ก็อาจช่วยลดภาวะฟันกร่อนจากการว่ายน้ำได้ เเต่ในกรณีที่เป็นนักกีฬาว่ายนน้ำหรือคนที่จะต้องสัมผัสกับน้ำในสระเป็นเวลานาน ๆ ก็ควรปรึกษาทันตเเเพทย์เพื่อทำครอบฟันยางเฉพาะบุคคล เพื่อป้องกันการสัมผัสกันของฟันกับน้ำในสระ
ผู้ตรวจ: อ.ทพ.กุลพัชร์ อิงคธนาชัย
อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความรู้ก่อนหน้า / ถัดไป
ความรู้ก่อนหน้า / ถัดไป
คลังความรู้