รศ.ทพญ.ดร.พนิดา ธัญญศรีสังข์
Assoc. Prof. Panida Thanyasrisung
D.D.S., Ph.D.
อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา
Department
รศ.ทญ.ดร.พนิดา ธัญญศรีสังข์ เป็นอาจารย์ประจําภาควิชาจุลชีววิทยา และนักวิจัยประจําศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจุลชีววิทยาช่องปากและวิทยาภูมิคุ้มกัน โดยมีความเชี่ยวชาญด้านไบโอฟิล์มในช่องปาก สารต้านจุลชีพทางเลือก และการพัฒนาแนวทางใหม่ในการป้องกันและรักษาโรคฟันผุ งานวิจัยของท่านมุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์ เช่น จุลชีววิทยา เคมี และวัสดุศาสตร์ ผ่านการทํางานวิจัยแบบสหวิทยาการ เพื่อขยายขอบเขตขององค์ความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในทางคลินิก ผลงานวิจัยที่โดดเด่น ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเชื้อจุลชีพในไบโอฟิล์มกับการเกิดฟันผุ การศึกษาจุลชีพในนํ้าลายเพื่อทํานายความเสี่ยงฟันผุในเด็กเล็ก และการใช้วัสดุชีวภาพในการควบคุมจุลชีพในช่องปาก ท่านมีบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติชั้นนําในหลายสาขา อาทิ Journal of Dental Research, Journal of Oral Microbiology, Scientific Reports, PLoS ONE, Carbohydrate Polymers และ ACS Applied Nano Materials ท่านมีความสนใจในการวิจัยด้านจุลชีววิทยาช่องปากโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโรคฟันผุ ทั้งในระดับพื้นฐาน เช่น การศึกษากลไกการเกิดฟันผุ และในระดับประยุกต์ เช่น การพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพเพื่อใช้ในการป้องกันโรคในทางคลินิก
Research Profile
งานวิจัยที่สนใจจะมุ่งเน้นการป้องกันฟันผุโดยศึกษาเชื้อก่อโรคและกลไกการเกิดโรค เช่น ผลของ dual- species biofilm ต่อปัจจัยก่อโรคฟันผุ (cariogenic virulent factors) เพื่อทำความเข้าใจบทบาทของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องและหาแนวทางควบคุม รวมถึงการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีสารฆ่าเชื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ โดยเน้นการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และผลต่อจุลินทรีย์ในช่องปาก งานวิจัยนี้จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการเกิดฟันผุได้ดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้นในทางทันตกรรม
โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ
- การศึกษาผลของ dual-species biofilm (eg. Streptococcus mutans vs Candida spp.) ต่อ cariogenic virulence (ร่วมกับ อ.อรนาฎ)
- พัฒนาวัสดุต้านเชื้อจุลชีพ และต้านไบโอฟิล์ม (ร่วมกับ อ.อรนาฎ อ.ภาสิรี และอาจารย์ท่านอื่น ๆ)
Research of interests
- Oral Microbiology
- Caries research
- Oral biofilm
Publications (5 years)
- Raksakmanut R, Thanyasrisung P, Sritangsirikul S, Kitsahawong K, Seminario AL, Pitiphat W, et al. Prediction of Future Caries in 1-Year-Old Children via the Salivary Microbiome. J Dent Res. 2023:220345231152802.
- Thanyasrisung P, Satitviboon W, Howattanapanich S, Matangkasombut O. Antifungal drug resistance in oral Candida isolates from HIV-infected and healthy individuals and efficacy of chitosan as an alternative antifungal agent. Arch Oral Biol. 2023;147:105628.
- Karnowakul J, Punyanirun K, Jirakran K, Thanyasrisung P, Techatharatip O, Pornprasertsuk-Damrongsri S, et al. Enhanced effectiveness of silver diamine fluoride application with light curing on natural dentin carious lesions: an in vitro study. Odontology. 2023;111(2):439-50.
- Wiriyasatiankun P, Sakoolnamarka R, Thanyasrisung P. The impact of an alkasite restorative material on the pH of Streptococcus mutans biofilm and dentin remineralization: an in vitro study. BMC Oral Health. 2022;22(1):334.
- Chanratchakool N, Chavengvorakul W, Taweesedt S, Trairatvorakul C, Thanyasrisung P. Effect of Light on the Antibacterial Property of Silver Diamine Fluoride. SWU Dent J 2022;15(1):86-92.
- Phuangkaew T, Booranabunyat N, Kiatkamjornwong S, Thanyasrisung P, Hoven VP. Amphiphilic quaternized chitosan: Synthesis, characterization, and anti-cariogenic biofilm property. Carbohydr Polym. 2022;277:118882.
- Pipattanachat S, Qin J, Rokaya D, Thanyasrisung P, Srimaneepong V. Biofilm inhibition and bactericidal activity of NiTi alloy coated with graphene oxide/silver nanoparticles via electrophoretic deposition. Sci Rep. 2021;11(1):14008.
- Namangkalakul W, Benjavongkulchai S, Pochana T, Promchai A, Satitviboon W, Howattanapanich S, et al. (Among authors: Thanyasrisung P.) Activity of chitosan antifungal denture adhesive against common Candida species and Candida albicans adherence on denture base acrylic resin. J Prosthet Dent. 2020;123(1):181 e1- e7.
- Mathurasai W, Thanyasrisung P, Sooampon S, Ayuthaya BIN. Hydrogen peroxide masks the bitterness of chlorhexidine mouthwash without affecting its antibacterial activity. J Indian Soc Periodontol. 2019;23(2):119-23.
- Sae-ung P, Wijitamornloet A, Iwasaki Y, Thanyasrisung P, Hoven VP. Clickable Zwitterionic Copolymer as a Universal Biofilm Resistant Coating. Macromol. Mater. Eng. 2019; 1900286.
- Denmongkholchai S, Katare P, Choochuay S, Thanyasrisung P, Tsuruda K, Sugai M, et al. Genome-Wide Identification of Host Genes Required for Toxicity of Bacterial Cytolethal Distending Toxin in a Yeast Model. Front Microbiol. 2019; 10:890.
Review articles (5 years)
- Pittayapat P, Ampornaramveth R, Jirachoksopon C, Suvarnbriksha K, Kattapong S, Pethprasert T, et al. (Among authors: Thanyasrisung P.) Procedures Used in Managing SARS-CoV-2 Infected Dental Personnel or Patients: A Case Study From a Thai Dental Hospital. Front Oral Health. 2021;2:750394.
- Oranart Matangkasombut, Panida Thanyasrisung. Sugar Substitutes and Their Effects on Systemic and Oral Health (Review article in Thai). J Dent Assoc Thai. 2019; 69(4): 379-397.
- Sudaduang Krisdapong, Panida Thanyasrisung. Free Sugars: The Cause of Dental Caries (Review article in Thai). J Dent Assoc Thai. 2019; 69(2): 110-125.
Patent
- Thai Petty Patent 13042: “The compound of magnetic nanoparticles stabilized with poly(acrylic acid) conjugated with cariogenic streptococci-specific cell wall binding domain of the enzyme for separation and naked-eye based semi-quantitative detection of cariogenic streptococci.”, September 1, 2017