สวัสดิการนิสิตบัณฑิตศึกษา

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

สวัสดิการด้านสุขภาพ

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นสถานพยาบาลแบบปฐมภูมิ ในสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย มีนโยบายให้บริการเป็นการภายในองค์กรและเป็นสวัสดิการ โดยให้บริการตรวจรักษาแก่นิสิต บุคลากร ผู้เกษียณอายุราชการและครอบครัวบุคลากรเป็นกลุ่มหลัก  การให้บริการด้านการแพทย์ของศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ได้แก่ การบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป บริการทันตกรรม กายภาพบำบัด และคลินิกโรคเฉพาะทาง (เช่น คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกสูติ-นรีเวช คลินิกจักษุ คลินิกศัลยกรรม กระดูกและข้อ คลินิกโรคภูมิแพ้ คลินิกวัยทอง คลินิกโรคไต คลินิก หู คอ จมูก คลินิก ทางเดินอาหาร คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และระบบฮอร์โมน คลินิกผิวหนัง)

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารจามจุรี 9
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์
ตั้งแต่ 8.00 – 15.30 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทรศัพท์ 0 2218 0568  
เว็บไซต์  http://www.cuhc.chula.ac.th/
เฟสบุ๊ค ChulalongkornUniversityHealthServiceCenter


โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสิทธิบัตรทองกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โดยย้ายสิทธิ์จากโรงพยาบาลเดิมมาใช้สิทธิ์ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sa.chula.ac.th/service/uc


ประกันอุบัติเหตุ

วงเงินค่าทดแทนสินไหม

  • กรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทั่วไป คุ้มครองค่ารักษาไม่เกินครั้งละ 40,000 บาท
  • กรณีเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่มหาวิทยาลัยหรือจากการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย คุ้มครองค่ารักษาไม่เกินครั้งละ 50,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 210,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตจากเหตุอื่น 10,000 บาท
  • ค่าเคลื่อนย้ายศพ ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์

ขอให้นิสิตนำใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร มาติดต่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาล / เงินทดแทน ภายใน 45 วัน หลังเกิดอุบัติเหตุ

เงินสมทบค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน

หากนิสิตประสบอุบัติเหตุและมีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าวงเงินที่ได้รับความคุ้มครองจากประกันชีวิตและอุบัติเหตุ มหาวิทยาลัยจะสมทบเงินค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

อุบัติเหตุในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรือจากการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาของมหาวิทยาลัยจะได้รับเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 1 เท่าของวงเงินที่ประกันชีวิตคุ้มครองเช่น

  • นิสิตบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาในมหาวิทยาลัย มีค่ารักษา 100,000 บาท สามารถเบิกจากบริษัทประกัน 50,000 บาท ขอรับเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลจากมหาวิทยาลัยได้ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการ
  • อุบัติเหตุนอกพื้นที่มหาวิทยาลัย จะได้รับเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลไม่เกินกึ่งหนึ่งของวงเงินที่บริษัทประกันคุ้มครอง
  • กรณีเกิดอุบัติเหตุทำให้นิสิตสูญเสียสมรรถภาพหรือทุพพลภาพถาวรในขณะที่ยังมีสถานภาพนิสิตจุฬาฯ ให้สนับสนุนเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 100,000 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

CU Student Corner
ศาลาพระเกี้ยวชั้นล่าง (ตรงข้ามศูนย์หนังสือจุฬาฯ)
โทร. 0 2218 7077 หรือ 08 1453 3233
เว็บไซต์ http://www.sa.chula.ac.th/service/insurance/
เฟสบุ๊ค  https://www.facebook.com/borikarnnisitchula/


ประกันสุขภาพสำหรับนิสิตชาวต่างชาติ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.sa.chula.ac.th/service/health-insurance-for-foreigner-student/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

CU Student Corner ศาลาพระเกี้ยวชั้นล่าง
โทร 08 1453 323 (10.00-17.00น.)


สวัสดิการการรักษาทางทันตกรรมสำหรับนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้รับบริการที่คลินิกทันตกรรมบริการ หน่วยงานเฉพาะทางต่าง ๆ และ คลินิกบัณฑิตศึกษา โดยคณะฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษา ยกเว้นค่าใช้จ่ายในห้องปฏิบัติการ ค่าชิ้นงานทางทันตกรรมประดิษฐ์ ค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์รากเทียม ส่วนการรักษาด้านทันตกรรมจัดฟันให้เรียกเก็บร้อยละ 60 ของค่ารักษาระดับที่ 2 ทั้งนี้ ผู้ให้การรักษาจะต้องลงนามพร้อมกำกับค่าบริการที่ยกเว้นการเรียกเก็บแต่ละครั้ง (ประกาศอัตราค่าบริการ โรงพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่คลินิกทันตกรรมบริการ การเงิน หรือประชาสัมพันธ์ (ชั้น1 อาคารสมเด็จย่า 93)

เว็บไซต์ www.dent.chula.ac.th/offices/hospital/


สวัสดิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • CUNET Account คือบัญชีผู้ใช้ของนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถใช้ CUNET Account กับบริการของมหาวิทยาลัย ระบบอีเมล ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFi และ ระบบเครือข่ายเสมือน (VPN) ด้วยโปรแกรม Cisco AnyConnect
  • อีเมลสำหรับนิสิต (StudentID@student.chula.ac.th) มีพื้นที่การใช้งาน mailbox 50 GB
  • G Suite for Education (Google Apps) บริการทางเลือกในการทำงาน โดยมีเครื่องมือสำหรับทำงาน เช่น ระบบเอกสาร ระบบประชุมทางไกล ระบบเก็บข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมายOffice 365
  • VPN บริการที่ทำให้ใช้บริการจากภายนอกมหาวิทยาลัย (เช่น ใช้งานจากอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL) เสมือนใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภายในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการใช้บริการฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย การเข้าถึง File Sharing การเข้าถึง Print Server หรือการเข้าถึงเครื่องแม่ข่ายที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัย
  • Zoom โปรแกรมสำหรับการเรียนการสอน การประชุม ออนไลน์ นิสิตยืมใช้งานด้วยตนเองผ่านระบบยืมใช้งานซอฟท์แวร์ สามารถยืมใช้งานโปรแกรม zoom ได้มากถึง 120 วัน และยืมล่วงหน้าได้ ถึง 30 วัน
  • Office 365 บริการในการทำงาน โดยมีเครื่องมือสำหรับทำงาน เช่น ระบบเอกสาร ระบบการทำงานร่วมกัน ระบบประชุมทางไกล และบริการอื่น ๆ บน Cloud ของไมโครซอฟต์ สิทธิ์ในการดาวน์โหลดโปรแกรมชุด Microsoft Office 2019 ติดตั้งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว บน PC หรือ MAC 5 เครื่อง / แท็บเล็ต 5 เครื่อง / สมาร์ตโฟน 5 เครื่อง
  • SPSS โปรแกรมวิเคราะข้อมูลสถิติต่าง ๆ ในการทำงาน การวิจัย
  • Adobe โปรแกรมสำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน ชุด Adobe Creative Cloud ซึ่งในชุดมีโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Photoshop Illustrator Acrobat Pro ฯลฯ
  • Trend Micro โปรแกรม Antivirus ที่มหาวิทยาลัยเปิดให้ใช้บริการซึ่งสามารถป้องกันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้ ทำให้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ปลอดภัยมากขึ้น
  • Windows 10 Education สามารถดาวน์โหลด Windows เพื่ออัปเกรด (ต้องมี Windows ลิขสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวให้เป็นเวอร์ชั่นที่ต้องการ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.it.chula.ac.th/all-services/?sub-filter-category=students

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 4 อาคารจามจุรี 3
เว็บไซต์  https://www.it.chula.ac.th
อีเมล help@chula.ac.th


สวัสดิการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

สิทธิ์บัตรจอดรถแบบรายเดือน อาคารวิทยกิตติ์ (ศูนย์หนังสือจุฬาฯ)

นิสิตผู้ได้รับสิทธิ์จะสามารถใช้บัตรจอดรถได้ครั้งละ 6 เดือน หลังจากนั้นจะต้องส่งแบบฟอร์มยืนยันการใช้ต่อ

เอกสารประกอบการขอบัตรจอดรถ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาหน้าทะเบียนรถ ที่แสดงชื่อเจ้าของรถ

*กรณีเป็นรถบุคคลอื่น พ่อ แม่ พี่น้อง นามสกุลเดียวกัน บุคคลในครอบครัว ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถระบุว่า “มอบอำนาจให้นาย/นางสาว…….ดำเนินการขอจอดรถในอาคารวิทยกิตติ์แทน”

นิสิตยื่นเอกสารสมัครครั้งแรกและกรอกแบบฟอร์มขอรับสิทธิ์ด้วยตนเอง พร้อมเงินจำนวน 1,200 บาท (ค่ามัดจำบัตร 200 + ค่าจอดเดือนแรก 1,000)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายบัณฑิตศึกษา
ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
อีเมล graddentcu@chula.ac.th


หอพักเรือนวิรัชมิตร (CU I-House)

ที่ตั้ง 268 ซอยจุฬา 9 ถนนจรัสเมือง
แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330

ดูแลและบริหารจัดการโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปส่วนบริหารกิจการอาคารพิเศษ (คุณสุทธิรักษ์ คงเพ็ชร์)
โทร. 089-799-3900 หรือ 02-217-3188 หรือ 066-095-1670
อีเมล book@thecuihouse.com
เฟสบุ๊ค  http://facebook.com/CUiHouseBangkok
เว็บไซต์ http://www.pmcu.co.th/?page_id=9795


โครงการให้คำปรึกษาทางสถิติสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาที่ทำวิจัย

ตรวจสอบสถานะวันนัดหมายเพื่อลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาทางสถิติ

https://docs.google.com/spreadsheets/d/e/2PACX-1vQXEGInD74YX0nD_DTRR_zY1FTRD04WTBu2rysmLgrOQLAZWFuLN4LIw9Hd8sWJvl1C4fBsgEHRxWHZ/pubhtml?gid=1508182852&single=true

  1. ประเภทนิสิตบัณฑิตศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ
    • ผู้อยู่ระหว่างทำวิจัยและยังไม่สำเร็จการศึกษา  (ไม่รวมนิสิตหลักสูตรสหสาขาวิชาฯ)
    • ผู้สำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่คณะกรรมการบริหารคณะฯอนุมัติ และต้องเป็นงานวิจัยที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา
  2. นิสิตลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการที่งานบริหารการศึกษาหลังปริญญาตรีเท่านั้น
    ผ่านช่องทาง graddentcu@gmail.com หรือแจ้งความประสงค์ที่ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
  3. รายชื่ออาจารย์และวันเวลาให้บริการ
    • รศ.ทพญ.ดร.ผกาภรณ์ พันธุวดี พิศาลธุรกิจ
      ทุกวันพุธ ช่วงเวลา 13.00 – 16.00 น.
    • ผศ.ทพญ.ดร.สรนันทร์ จันทรางศุ
      ทุกวันจันทร์ และ พุธ ช่วงเวลา 13.00 – 16.00 น.
    • ผศ.ทพญ.ดร.ณฤดี ลิ้มปวงทิพย์
      ทุกวันพฤหัสบดี ช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น.

เปิดให้นิสิตลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 1 เดือน และได้ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยต้องไม่เกิน 2 ครั้ง/เดือน และจะต้องรับคำปรึกษาในครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจะอนุญาตให้ลงทะเบียนในครั้งต่อไปได้

* สำหรับนิสิตรหัส 65 เป็นต้นไป นิสิตสามารถเข้ารับการปรึกษาสถิติได้ 4 ครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา

  • Online อาจารย์ให้คำปรึกษาผ่านโปรแกรม Zoom โดยงานบริหารการศึกษาหลังปริญญาตรีจะส่งลิงก์ให้นิสิตทราบล่วงหน้า 1 วัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของอาจารย์แต่ละครั้ง)
  • Onsite อาจารย์ให้คำปรึกษาที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของอาจารย์แต่ละครั้ง)

ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม

https://drive.google.com/file/d/1GYvgHJzu1ls6VIh8vEW9xAUDfvJ2pdn8/view?usp=sharing

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายบัณฑิตศึกษา

ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
อีเมล graddentcu@gmail.com