เกี่ยวกับ
ศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก
Oral Biology Research Center (OBRC)
ศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก มีหน้าที่ให้บริการเครื่องมือวิจัย เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตผลงานทางวิชาการ ให้แก่ คณาจารย์ และนิสิต ของคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้ใช้บริการจากภายนอก
หน้าที่และความรับผิชอบของศูนย์วิจัยฯ
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปากเริ่มก่อตั้ง ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อเป็นศูนย์เครื่องมือสำหรับงานวิจัยของคณาจารย์ และนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยมี ผศ.ทญ.ดร.วิสาขะ ลิ่มวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2537-2538 ศูนย์วิจัยฯ ได้รับงบประมาณ 17.5 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องมือ ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์หลากหลายชนิดรวมทั้งกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ไมโครซีที (MicroCT) ชุดเครื่องมือในห้องปฏิบัติการสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ ชุดเครื่องมือในห้องปฏิบัติการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เครื่องมือในการเตรียมและวิเคราะห์ทางชีวเคมี และเครื่องมืออื่นที่จำเป็นในงานวิจัย
หน่วยทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพช่องปาก ซึ่งเดิมมีแผนก่อตั้งเป็นศูนย์วิจัยฯ ในปี พ.ศ. 2540 แต่ได้ปรับให้เป็นหน่วยทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพช่องปาก ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปากแทนในปี พ.ศ. 2546 การจัดตั้งสำเร็จได้โดยมี รศ.ทญ.นวลฉวี หงษ์ประสงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ รศ.ดร.เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยสุขภาพช่องปาก มหาวิทยาลัยอินเดียนา หน่วยทดสอบนี้ให้บริการแก่หน่วยงานทั่วไปในด้านทดสอบการขัดสี และความสามารถในการทำความสะอาดของยาสีฟัน และยังคงจัดหาการทดสอบผลิตภัณฑ์อื่นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการ
ภายใต้การบริหารงานของฝ่ายวิจัย ได้มีการนำระบบ ISO 9002 มาใช้ในการจัดการระบบคุณภาพบริการสำหรับขอบข่ายงานให้บริการเครื่องมืออย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับการรับรองคุณภาพ ISO 9002 ในปี พ.ศ. 2543-2545 แล้วได้รับการปรับเวอร์ชั่น ตามที่มาตรฐานได้ปรับปรุงตามลำดับ ได้แก่ การรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 ในปี พ.ศ. 2546-2551 ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2008 ในปี พ.ศ. 2552-2561 และศูนย์วิจัยฯ ยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561 – 14 กันยายน 2564 และการตรวจประเมินเพื่อต่ออายุใบรับรอง ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 – 2567 และยังคงได้รับการต่ออายุอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 15 กันยายน 2567 จนถึงปัจจุบัน ในส่วนงานทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพช่องปาก ที่ให้บริการทดสอบการขัดสีของยาสีฟัน และทดสอบความสามารถในการทำความสะอาดของยาสีฟันนั้น ยังคงมีผู้ใช้บริการให้ความสนใจและส่งตัวอย่างเข้ามาทดสอบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์วิจัยฯ ได้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการด้วยคุณภาพตามมาตรฐานที่เป็นสากล และมุ่งมั่นที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ
ปัจจุบันห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก (ห้อง 914) ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานทั่วไปของห้องปฏิบัติการ จากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (SHECU) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 และได้เข้าร่วมโครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบการยอมรับร่วม (peer evaluation) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 มาจนถึงปัจจุบัน
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจของศูนย์วิจัยฯ จากการเข้าร่วมประกวดในโครงการ “Green Office work place และ 5ส ต่อเนื่อง” ประจำปี 2567 ได้แก่