1. สวัสดิการการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสำหรับนิสิตทันตแพทยศาสตร์

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการปฎิบัติงานในคลินิกของนิสิตทันตแพทย์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่มีอันตรายสูง ฝ่ายกิจการนิสิต คณะทันตแพทยศาสตร์จึงจัดสวัสดิการให้นิสิตทุกคนได้รับการตรวจภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อให้นิสิตทราบถึงภาวะคุ้มกันโรคดังกล่าวของแต่ละคน

การดำเนินการ

ฝ่ายกิจการนิสิต จัดบริการให้นิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับการตรวจภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในช่วงเวลาประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี

บริการต่อเนื่อง

รายงานผลการตรวจให้นิสิตแต่ละคน และจัดบริการการบรรยายให้ความรู้ในเรื่องของการแปลผล และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีตลอดจนการดูแลให้ได้รับคำแนะนำต่อเนื่องในรายที่จำเป็น


2. สวัสดิการการรักษาพยาบาล

  • ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยนักจิตวิทยา : ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ (นัดหมายล่วงหน้า)
  • บริการตรวจรักษาโดยจิตแพทย์ : ทุกวันจันทร์ และ วันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ (นัดหมายล่วงหน้า)
  • เวลาทำการของหน่วยงาน : วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ อาคารจามจุรี 9 ห้อง 311 ชั้น 3
map คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แผนที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ

งานอนามัยจัดให้บริการรักษาพยาบาลแก่อาจารย์ ข้าราชการ นิสิต ตลอดจนลูกจ้างและพนักงานของมหาวิทยาลัย โดยบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทาง บริการด้านทันตกรรมและกายภาพบำบัด โดยไม่คิดค่าบริการใดๆ

ที่อยู่
เลขที่ 254 อาคารจามจุรี 9 ชั้น 2
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม. 10330
ในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:00 – 16:00 น.
โทรศัพท์ 02-218-0568, 085-330-9877
โทรสาร 02-218-0574


3. สวัสดิการการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ

มหาวิทยาลัยได้จัดทำประกันชีวิตและอุบัติเหตุให้แก่นิสิต นิสิตทุกคนจะได้รับความคุ้มครองหากประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยนิสิตต้องยื่นหลักฐานดังนี้
วิธีเบิกค่ารักษาพยาบาล (เนื่องจากอุบัติเหตุ) นิสิตต้องยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลา 45 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ครั้งนั้น ๆ

3.1 กรณีบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ

  • ในรับรองแพทย์ของสถานพยาบาลนั้น ๆ
  • ใบเสร็จรับเงินตัวจริง ซึ่งระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นิสิตต้องจ่ายไป

3.2 กรณีเสียชีวิตเนื่องด้วยอุบัติเหตุหรือมิใช่ด้วยอุบัติเหตุ

  • ใบพิสูจน์มรณกรรมจากทางบริษัทจำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย
    • หลักฐานการรู้จักตัวผู้ตาย
    • ถ้อยแถลงของแพทย์ผู้ให้การรักษาขณะมรณกรรม
    • ถ้อยแถลงของผู้รับผลประโยชน์
  • สำเนาบัตรประชาชนของนิสิต
  • สำเนาทะเบียนบ้านของนิสิต
  • สำเนาใบมรณบัตร
  • หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับมรณกรรม (ถ้ามี)
  • ใบชันสูตรพลิกศพจากสถานีตำรวจ หรือถ้าไม่มีให้ใช้ใบรับรองการเสียชีวิตจากโรงพยาบาล และสำเนาบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ (เฉพาะการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ)

3.3 ผลประโยชน์ที่นิสิตได้รับ

กรณีเสียชีวิตธรรมดา (ทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้น)
  • ได้รับค่าสินไหมทดแทน 10,000 บาท
เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
  • ได้รับค่าสินไหมทดแทน 210,000 บาท
กรณีเสียอวัยวะสำคัญ
  • ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร 200,000 บาท
  • สูญเสียข้อมือทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่ข้อมือ 200,000 บาท
  • สูญเสียเท้าทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่ข้อเท้า 200,000 บาท
  • สูญเสียมือ 1 ข้าง และเท้า 1 ข้าง ตั้งแต่ข้อมือและข้อเท้า 200,000 บาท
  • สูญเสียตา 1 ข้างและมือ 1 ข้างตั้งแต่ข้อมือ 200,000 บาท
  • สูญเสียตา 2 ข้าง 200,000 บาท
  • สูญเสียเท้า 1 ข้าง ตั้งแต่ข้อเท้าและตา 1 ข้าง 200,000 บาท
  • สูญเสียมือ 1 ข้างตั้งแต่ข้อมือ 120,000 บาท
  • สูญเสียเท้า 1 ข้างตั้งแต่ข้อเท้า 120,000 บาท
  • สูญเสียตา 1 ข้าง 120,000 บาท
ค่ารักษาพยาบาล (สามารถเข้ารักษาได้ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน)
  • ค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 30,000 บาท
  • อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยหรือสำหรับนักกีฬาที่เข้าแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งละไม่เกิน 40,000 บาท

สถานที่ติดต่อ สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ อาคารจุลจักรพงษ์ ชั้น 2 โทร 0-2218-7048-9


4. การลงทะเบียนผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เปิดรับสมัคร ปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนมิถุนายน และ เดือนตุลาคม โดยกรอกข้อมูลในใบสมัครพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวนิสิต สำเนาทะเบียนบ้านและต้องลงชื่อในเอกสารให้ความยินยอมการเข้าใช้สิทธิประกันสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และส่งเอกสารการสมัครได้ที่ ฝ่ายกิจการนิสิตคณะฯ


5. สวัสดิการหอพักนิสิต

ที่ตั้งสำนักงานหอพักนิสิต ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 0-2218-3643 โทรสาร 022183642

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rcu.sa.chula.ac.th/rcu_web/

ระยะเวลารับสมัคร

  • นิสิตใหม่ที่เข้าอยู่ภาคต้นปีการศึกษานั้นๆ เดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • นิสิตที่เข้าอยู่ภาคต้นปีการศึกษาถัดไป เดือนมกราคมของทุกปี
  • นิสิตที่เข้าอยู่ภาคปลายปีการศึกษานั้นๆ เดือนกันยายนของทุกปี

คุณสมบัติของผู้สมัครหอพักนิสิต

  1. เป็นนิสิตชายหรือหญิงชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี ระบบทวิภาค ที่ไม่ใช่หลักสูตรที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแบบพิเศษ
  2. เป็นนิสิตที่มีภูมิลําเนาอยู่ต่างจังหวัด และมีความจําเป็นเกี่ยวกับที่พักอาศัย หรือเป็นนิสิตที่มี ภูมิลําเนาในกรุงเทพฯ แต่สถานที่พักไม่เอื้อต่อการศึกษา
  3. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี เหมาะสมที่จะใช้ชีวิตในหอพักร่วมกับผู้อื่น

หอพักภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วย

1. หอพักนิสิตชาย 

มีอาคารพักนิสิตชายจำนวน  2  หลัง รับนิสิตชายเข้าพักได้รวม 1,280 คน ดังนี้

  • ตึกจำปา เป็นอาคาร 5 ชั้น มีจำนวนห้องพักสำหรับนิสิต 70 ห้อง ห้องละ 4 คน รวมรับได้ 280 คน  (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ)
  • ตึกพุดตาน เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักสำหรับนิสิต 174 ห้อง ห้องละ 3 คน รวมรับได้  522 คน  (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ)
  • ตึกชวนชม เป็นอาคาร 17 ชั้น พักได้ที่ชั้น 13-17 (มีเครื่องปรับอากาศและห้องน้ำแยก)
2. หอพักนิสิตหญิง 

มีอาคารพักนิสิตหญิงจำนวน  3  หลัง รับนิสิตหญิงเข้าพักได้รวม 1,659 คน ดังนี้

  • ตึกพุดซ้อน เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักสำหรับนิสิต  223 ห้อง ห้องละ 4 คน รวมรับได้  892 คน  (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ)
  • ตึกชวนชม เป็นอาคาร 17 ชั้น พักได้ที่ชั้น 2-12 (มีเครื่องปรับอากาศและห้องน้ำแยก)

อัตราค่าที่พัก

ตึกภาคปกติ (บาท)ภาคฤดูร้อน (บาท)พักห้องละ (คน)ค่าประกันความเสียหายค่าไฟ (บาท/หน่วย)ค่าน้ำ (บาท/หน่วย)
 จำปา 4,500/คน/ภาค 2,000/คน/ภาค 4ฟรีฟรี
 พุดตาน 1,800/คน/เดือน 1,800/คน/เดือน 350005ฟรี
 ชวนชม 3,500/คน/เดือน 3,500/คน/เดือน 25000517
 พุดซ้อน 5,500/คน/ภาค 2,500/คน/ภาค 4ฟรีฟรี
3. หอพักเอกชน
หอพักพวงชมพู (ยูเซ็นเตอร์)

เปิดรับสมัคร 2 รอบ ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ดูรายละเอียดได้ที่นี่ หรือ http://www.ucenterchula.com/ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 – 216 – 3424 ต่อ 403 – 405


6. สวัสดิการโครงการอาหารกลางวัน

ให้รับประทานอาหารกลางวันฟรี สำหรับนิสิตเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายนิสิต ติดต่อได้ที่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ โทร. 0-2218-3680


7. สวัสดิการเสื้อกาวน์สำหรับปฎิบัติงานกับผู้ป่วย

หลักการและเหตุผล

นิสิตทันตแพทยศาสตร์จะเริ่มขึ้นปฏิบัติงานกับผู้ป่วยคลินิกทันตกรรม ในชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ทั้งนี้เพื่อเป็นสวัสดิการแก่นิสิต ฝ่ายกิจการนิสิต คณะทันตแพทยศาสตร์จึงได้จัดชุดเสื้อคลุมแพทย์ (เสื้อกาวน์) ที่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสม มีความรัดกุมในการปฎิบัติงานภายใต้ภาวะป้องกันการติดเชื้อในการทำงานกับผู้ป่วยและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สำหรับนิสิตทุกคนและมีจำนวนเพียงพอเพื่อการทำงานในคลินิกโดยจัดชุดเสื้อกาวน์ให้นิสิตทุกคน คนละ 2 ชุด

การดำเนินการ

นิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 3 ดำเนินการสำรวจขนาดของเสื้อนิสิตทุกคนในชั้นปี นำส่งฝ่ายกิจการนิสิตประมาณเดือนมีนามคมของทุกปี
ฝ่ายกิจการนิสิต ดำเนินการจัดเตรียมเสื้อกาวน์ตามขนาดที่สำรวจ และตามจำนวนที่ระบุ

การดำเนินการต่อเนื่อง

ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ในเดือนตุลาคม คณะฯ จะจัดให้มีพิธีสำคัญคือ “พิธีมอบเสื้อกาวน์” ซึ่งคณบดีและคณาจารย์ในคณะฯ จะเข้าร่วมพิธีมอบเสื้อกาวน์ให้แก่นิสิต และร่วมกันให้โอวาท เพื่อเป็นสัญญาณในการเริ่มขึ้นปฎิบัติงานกับผู้ป่วย ในพิธี นิสิตกล่าวปฎิญาณตนต่อหน้าคณาจารย์และผู้ปกครองซึ่งได้รับเชิญมาร่วมพิธีเพื่อมาชื่นชมความก้าวหน้าและเป็นกำลังใจให้นิสิต หลังพิธีการผู้ปกครองมีโอกาสได้พบและพูดคุยกับคณาจารย์ด้วย


8. สวัสดิการให้คำปรึกษาและงานบริการแนะแนว

งานบริการแนะแนว

มหาวิทยาลัยได้จัดบริการหางานและแนะแนวอาชีพสำหรับนิสิตและบัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่โลกแห่งอาชีพ รวมทั้งการศึกษาต่อโดยจัดให้บริการ

  • ข้อมูลแหล่งงาน ทุนการศึกษา และข้อมูลการศึกษาต่อ รวมทั้งรับสมัครงานแทนหน่วยงานที่แจ้งความจำนงเข้ามา
  • หางานชั่งคราวให้แก่นิสิต ที่ต้องการทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างการศึกษา โดยนิสิตสามารถมาลงชื่อสมัครเพื่อแจ้งความจำนงไว้ได้
  • จัดโครงการแนะแนวอาชีพและการศึกษาต่อเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับบัณฑิต อาทิเช่น โครงการนิทรรศการแนะแนวอาชีพ โครงการอภิปรายการศึกษาต่อ เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ

งานแนะแนวและจัดหางาน โทร. 0-2218-7074 (คุณประสิทธิ์) ในเวลาราชการ

งานให้คำปรึกษา “สายด่วน จุฬาฯ”

จัดบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์แก่นิสิตที่ประสบปัญหาในด้านต่างๆ หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ด้านการเรียน สุขภาพ ปัญหาส่วนตัว โดยผู้ให้การปรึกษาทางโทรศัพท์ เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการตอบปัญหาทางโทรศัพท์ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ 0-2251-1558 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00-17.00 น.


9. สวัสดิการทุนช่วยเหลือฉุกเฉิน

หลักการและเหตุผล

ในบางกรณีนิสิตอาจมีเหตุสุดวิสัยเกินขึ้น และมีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เงิน หรือต้องการความอนุเคราะห์เรื่องต่างๆ ฝ่ายกิจการนิสิตได้จัดให้มีระบบช่วยเหลือฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่นิสิตในด้านนี้

การดำเนินการ

นิสิตผู้ได้รับความเดือดร้อน แจ้งต่ออาจารย์ที่ปรึกษาของตน เพื่อประสานงานให้แก่ฝ่ายกิจการนิสิตทราบ หรือกรณีเร่งด่วนให้แจ้งต่อฝ่ายกิจการนิสิตโดยตรง ในการนี้นิสิตผู้ขอความอนุเคราะห์ต้องมาแจ้งพร้อมทำบันทึกยื่นคำร้องต่อฝ่ายกิจการนิสิต การดำเนินการให้ความช่วยเหลือนี้เป็นกรณีพิเศษ จักดำเนินการตามความเหมาะสมโดยคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนเพื่อกิจการนิสิต


10. สวัสดิการ

การขอลดค่าโดยสารรถไฟ

มหาวิทยาลัยมีบริการออกหนังสือขอลดค่าโดยสารรถไฟ โดยจะดำเนินการให้ได้เฉพาะผู้ที่มีอายุไม่เกิน ๒๕ ปีบริบูรณ์ ยังไม่มีรายได้และอยู่ในความอุปการะของผู้ปกครอง การขอลดค่าโดยสารลดให้ครึ่งราคาเฉพาะชั้นที่ ๓ ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

ตั๋วเดือน สำหรับการเดินทางไปกลับเป็นประจำ นิสิตยื่นขอหนังสือรับรองโดยส่งหลักฐาน ดังนี้

  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป พร้อมสำเนาบัตรนิสิต
  • ให้ยื่นคำร้องล่วงหน้า 3 วัน

ตั๋วลดครึ่งราคา สำหรับนิสิตที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและมีความประสงค์ไปเยี่ยมบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ในระหว่างปิดภาคปลายระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน นิสิตจะต้องปฏิบัติดังนี้

  • ยื่นคำร้องขอซื้อสมุดโดยสารรถไฟ ตามแบบที่กำหนดไว้
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาหรือมารดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ในกรณีที่บิดา มารดาถึงแก่กรรม ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านของนิสิตและของผู้ปกครอง
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
  • บัตรประจำตัวนิสิต
  • ค่าสมุดโดยสาร 5 บาท
  • ให้ยื่นคำร้องล่วงหน้า 7 วัน
  • สมุดโดยสารนี้ใช้ได้จนจบการศึกษา แต่ต้องมาขอต่ออายุเป็นปี ๆ ไป
  • สมุดค่าโดยสารนี้จะต้องเก็บรักษาไว้ หากสูญหายอาจหมดสิทธิ์การทำสมุดโดยสารใหม

ขอลดค่าโดยสารเป็นหมู่คณะ สำหรับนิสิตที่เดินทางไปศึกษาและดูงานตามหลักสูตรการศึกษา และเดินทางไปจัดกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติแล้ว


11. ทุนการศึกษา

11.1 ทุนอุดหนุนการศึกษา 

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

  • ทุนประเภท ก เป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายรายเดือน วงเงินไม่เกินค่า เล่าเรียนที่จ่ายจริงต่อปี รวมกับค่าใช้จ่ายรายเดือน ไม่เกิน 48,000 บาทต่อปี
  • ทุนประเภท ข (1) เป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือเป็นค่าเล่าเรียน
  • ทุนประเภท ข (2) เป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน วงเงินไม่เกิน 4,000 บาทต่อเดือน หรือ 48,000 บาทต่อปี
  • ทุนประเภท ค เป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วน วงเงินไม่เกินทุนละ 10,000 บาท

การรับสมัครทุน

  • นิสิตปัจจุบัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี
  • นิสิตใหม่ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มิถุนายน – สิงหาคม ของทุกปี

เอกสารการรับสมัครขอทุน

  • รูปถ่ายผู้สมัครขอรับทุน ขนาด 2 นิ้ว 1 รูป
  • ใบรายงานผลการเรียน
  • รูปถ่ายสภาพบ้านและทรัพย์สิน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของนิสิตและผู้ปกครองพร้อมเซ็นชื่อ
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง
  • สำเนาบัตรประชาชนของนิสิต
  • หนังสือรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษา
  • คำรับรองฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว
  • หนังสือรับรองเงินเดือนบิดา และมารดา (กรณีมีรายได้ประจำ)
  • เอกสารอื่น ๆ

ในการยื่นความจำนงขอทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ นิสิตสามารถดำเนินการได้ โดยมาขอรับแบบฟอร์มขอรับทุนการศึกษา ได้ที่ฝ่ายกิจการนิสิตคณะฯ 02 – 2188656

เงินกู้ยืมของรัฐบาล (กยศ) หรือ (กรอ)

คณะฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องสวัสดิการเงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาล โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสนิสิตในระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถทางวิชาการ โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตในระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถทางวิชาการแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสศึกษาในระดับที่สูงขึ้นโดยจัดให้กู้ยืม วงเงินกู้ยืมสำหรับนิสิตจุฬาฯ รายละไม่เกิน 78,000 บาทต่อปี

รายละเอียดติดตามได้จากเว็บไซต์ www.studentloan.or.th

การชำระคืน

 ชำระเงินคืนเมื่อสำเร็จการศึกษาโดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และชำระค่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดการกู้ยืมได้ที่ฝ่ายกิจการนิสิตของคณะฯ หรือ ที่สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารจุลจักรพงษ์

กำหนดการกู้ยืม

  • เดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม สำหรับนิสิตปัจจุบัน
  • สำหรับนิสิตกู้ยืมต่อเนื่องจากสถาบันอื่นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม – สิ้นเดือนพฤษภาคม

ติดต่อขอรับแบบฟอร์ม

ฝ่ายกิจการนิสิตคณะฯ อาคารวาจวิทยาวัฑฒน์ ชั้น 2 โทร.02-218-8656

11.2  ทุนภายใน 

  • ทุนเรียนดี
  • ทุนรางวัลวิจัย
  • ทุนนักกิจกรรมดีเด่น
  • ทุนนิสิตที่มีคุณธรรมดีเด่นประจำปี
  • ทุนผู้สอบได้คะแนนคณะทันตแพทยศาสตร์สูงสุดของ กสพท
  • ทุนฉุกเฉินสำหรับนิสิต

11.3 ทุนภายนอก

  • ทุนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  
  • ทุนภูมิพล   
  • ทุนมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช 
  • ทุนมูลนิธิพระมหิตลาธิเบศรฯ
  • ทุนมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง  
  • ทุนบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ 
  • ทุนมูลนิธิชิน โสภณพนิช  
  • ทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์  
  • ทุนมูลนิธิชวน รัตนรักษ์  
  • ทุน 1 อำเภอ 1 ทุน

สอบถามข้อมูล / ติดต่อหน่วยงาน

ฝ่ายกิจการนิสิต

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8656, 0 2218 8658
  • โทรสาร 0 2255 3058