คำถามที่พบบ่อย
ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ทำบันทึกข้อความชี้แจงเรียนรองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา ระบุเหตุผลสุดวิสัย ที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ แจ้งแนวทางชดเชยกิจกรรมนั้นๆ เช่น เข้าร่วมในปีการศึกษาถัดไป ทำกิจกรรมจิตอาสาทดแทน เป็นต้น โดยจะต้องมีการลงนามของนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา(ถ้ามี) และหัวหน้าภาควิชา/ประธานหลักสูตร ส่งเอกสารที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา เสนอรองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป
นิสิตทุกคนจะต้องทำกิจกรรมจิตอาสา 10 ชม./ปีการศึกษา จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หรือ จนกว่านิสิตจะรักษาสถานภาพรอตีพิมพ์
ขอให้ทำกิจกรรมเพิ่มในปีการศึกษาถัดไป และส่งบันทึกข้อความชี้แจงสาเหตุ การทำกิจกรรมชดเชยเรียนรองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาเมื่อจะสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรับทราบและให้ความเห็นชอบด้วย
- สอบถามรหัสรายวิชา และตอนเรียน จากภาควิชา/หลักสูตร เพื่อป้องกันความผิดพลาดในภายหลัง และจะต้องตรวจสอบด้วยว่ารายวิชาที่ยื่นความจำนงไว้นั้น ลงทะเบียนสำเร็จทุกรายวิชาหรือไม่ ตามกำหนดการที่สำนักงานการทะเบียนแจ้งไว้ในปฏิทินการศึกษา
- ชำระค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ตามวันเวลาที่มหาวิทยาลัยและคณะกำหนด
สามารถลงทะเบียนเรียนสายได้ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังเปิดภาคการศึกษา แต่ต้องชำระค่าปรับตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ที่สำนักงานการทะเบียน อาคารจามจุรี 6 ชั้น 2 ถ้าเลยจากนี้ต้องยื่นคำร้องเพื่อขอลงทะเบียนเรียนหลังกำหนดด่วนที่สุด สอบถามข้อมูลเพื่อเติมที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา
คณะจะส่งตัวกลับเข้ารับราชการ เมื่อนิสิตมีสถานะดังนี้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ
- ได้รับอนุมัติจากหลักสูตรและคณบดีให้พ้นสภาพการเป็นนิสิต
ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อปฏิบัติในการลงทะเบียนเรียน พ.ศ. 2550 (ข้อ5) มีข้อความดังนี้
“ข้อ 5 นิสิตผู้ใดลงทะเบียนเรียนแล้ว หากต่อมาได้ยื่นคำร้องขอลาออก หรือลาพักการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาหรือวันเปิดภาคฤดูร้อน เมื่อการลาออกหรือลาพักการศึกษาได้รับอนุมัติจากคณบดีที่นิสิตสังกัดแล้ว ให้ดำเนินการคืนเงินค่าเล่าเรียนหรือค่าธรรมเนียมการศึกษา แล้วแต่กรณี ให้แก่นิสิตผู้นั้น เว้นแต่ เป็นกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหลักสูตรเกิดขึ้นก่อนวันเปิดภาค ให้หักจำนวนเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวออกจากเงินที่ต้องคืนให้แก่นิสิต ทั้งนี้ ตามอัตราซึ่งกำหนดไว้ในประกาศที่ออกโดยคณะกรรมการบริหารของแต่ละหลักสูตร ในกรณีที่นิสิตยื่นคำร้องลาออกหรือลาพักการศึกษาภายหลังกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินต่างๆ ดังกล่าว”
ตามระเบียบข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 หมวด 9 การลาพักการศึกษา ข้อ 133 วรรค 2 “นิสิตต้องกระทำก่อนวันสุดท้ายของการสอบในภาคการศึกษาหรือภาคฤดูร้อนนั้น ตามที่กำหนดไว้ในปฏิทินการศึกษา” (สอบถามข้อมูลการยื่นคำร้องที่สำนักงานบัณฑิตศึกษาโดยตรงเท่านั้น)
ติดต่อขอรับแบบฟอร์มขอที่จอดรถได้ที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา และจำกัดจำนวน มาก่อนได้ก่อน
นิสิตจะต้องลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพธ์ 0 หน่วยกิต และชำระค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือรักษาสถานภาพรอตีพิมพ์
ติดต่อธุรการภาควิชา/หลักสูตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการจองห้องผ่านระบบอินทราเน็ตของคณะ
ห้องสมุด ชั้น 3 และ ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 นอกจากนี้สำนักงานบัณฑิตศึกษายังมีคอมพิวเตอร์บริการนิสิต เฉพาะใช้สืบค้นข้อมูลและทำวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (i-Thesis) ด้วย
นิสิตจะต้องกรอกแบบฟอร์มขอตรวจสอบเกณฑ์การนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ส่งที่สำนักงานบัณฑิตศึกษาก่อนลงทะเบียนเข้าร่วมงานดังกล่าว เป็นการตรวจคุณสมบัติของงานประชุมให้เป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ยื่นขอสำเร็จการศึกษาได้ ไม่ได้ให้เงินสนับสนุน
แจ้งความประสงค์ที่ภาควิชา/หลักสูตร เพื่อให้ทำเรื่องขออนุมัติเข้าร่วมงานมาที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา (ค่าใช้จ่ายที่นิสิตจะสามารถเบิกได้ ขึ้นอยู่กับประกาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง กำหนดอัตราการจัดเก็บและอัตราการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของแต่ละภาควิชา/หลักสูตร ขอให้สอบถามที่ภาควิชา/หลักสูตรโดยตรง)
ตามระเบียบข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561
ส่วนที่ 4 การสอบวัดคุณสมบัติ
1. กรณีไม่ใช่หลักสูตรแบบต่อเนื่อง
ต้องสอบและได้สัญลักษณ์ S ภายใน 4 ภาคการศึกษา นับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
- 1.1 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต (เกียรตินิยม) หรือ
- 1.2 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต โดยได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และมีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 ขึ้นไป หรือ
- 1.3 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต
2. กรณีเป็นหลักสูตรแบบต่อเนื่อง
- 2.1 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต (เกียรตินิยม) หรือ
- 2.2 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต โดยได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และมีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 ขึ้นไป หรือ
- ข้อ 2.1 และ 2.2 ต้องสอบและได้สัญลักษณ์ S ภายใน 4 ภาคการศึกษา นับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
- 2.3 เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต ต้องสอบและได้สัญลักษณ์ S ภายใน 3 ภาคการศึกษา นับแต่ภาคการศึกษาแรก
3. ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสอบวัดคุณสมบัติในภาคการศึกษาที่จะสอบแล้ว
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบัณฑิตศึกษา