หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาปริทันตวิทยา

Residency Training Program in Periodontology

shutterstock 407323069 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

3 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมสาขาปริทันตวิทยา

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ

จำนวนหน่วยกิต

82 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

  • เน้นงานคลินิก ได้ทำการรักษาที่หลากหลายทั้งงานปริทันตวิทยาและรากเทียม
  • คณาจารย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ
  • งานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความร่วมมือกับสถาบันทั้งระดับชาติ และนานาชาติ

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร (ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567)

รับสมัครตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ถึงวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566

ความเป็นมาของหลักสูตร

ในอดีตการเรียนการสอนวิชาปริทันตวิทยาอยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก ผศ.ทพญ.วราภรณ์ บัวทองศรี ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากในขณะนั้น เห็นว่าในภาควิชาฯ มีอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถทางเวชศาสตร์ช่องปากอยู่จำนวนหนึ่ง และทางปริทันตวิทยาอีกจำนวนหนึ่ง หากแยกเป็น 2 ภาควิชาอย่างชัดเจน จะทำให้การบริหารจัดการคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนงานวิจัยในแต่ละสาขาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ภาควิชาปริทันตวิทยาจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 อันเป็นผลจากความพยายามและความมุ่งมั่นของท่านอาจารย์ ในสมัยเริ่มแรกนั้นภาควิชาปริทันตวิทยามุ่งการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิตเป็นหลัก รับนิสิตบัณฑิตศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตเพียงปีละ 2 คน ต่อมาจึงขยายจำนวนรับเป็น 5 คน ในปี พ.ศ. 2528 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (สาขาปริทันตวิทยา) และในปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปริทันตศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร เป็นผลให้ภาควิชาฯมีงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ.2545 ภาควิชาได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เพื่อต่อยอดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตอีก 1 ปี และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางระดับวุฒิบัตร สาขาปริทันตวิทยา เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมมีคุณสมบัติในการสอบอนุมัติบัตร/วุฒิบัตร เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของทันตแพทยสภา ภาควิชาได้ทำการพัฒนาการเรียนการสอน วิชาปริทันตวิทยาให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนิสิต ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความสนใจทันตสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการรับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงเพิ่มมากขึ้น ในด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก ทันตแพทย์จึงต้องมีความรู้ ความชำนาญ รวมทั้งทักษะเฉพาะด้านมากขึ้นเช่นกัน ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตวิทยา จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการป้องกันและรักษาโรคในช่องปาก โดยเฉพาะโรคปริทันต์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียฟัน

การให้บริการด้านการดูแลรักษาด้านปริทันตวิทยา โดยเฉพาะโรคปริทันต์ขั้นรุนแรงและซับซ้อน ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง รวมทั้งยังขาดแคลนทันตแพทย์เฉพาะทางสาขานี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านนี้ยังมีจำนวนน้อย หลักสูตรจึงมีการวางแผนในการผลิตบัณฑิตด้านปริทันตวิทยา และงานวิจัยทางด้านสาเหตุของการเกิดโรค การดำเนินโรค ตลอดจนการรักษา และการป้องกันโรค โดยสอดคล้องกับปรัชญา/ปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เน้นการพัฒนาหลักสูตรเข้าสู่รูปแบบ ที่เน้นผลการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นิสิตเลือกเรียนรายวิชาที่ตนเองสนใจได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม ควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

shutterstock 1389890039 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1

คณาจารย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการให้การรักษาผู้ป่วย และการทำงานวิจัย

คณาจารย์ที่สอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาปริทันตวิทยา โดยเป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตร สาขาปริทันตวิทยา หรือ สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวนคณาจารย์ในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมกับจำนวนนิสิต โดยอัตราส่วนของอาจารย์ต่อนิสิตคิดเป็น 1:1.5

2

งานวิจัย

ภาควิชาปริทันตวิทยามีความพร้อมในการสนับสนุนการทำงานวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานวิจัยในสาขาปริทันตวิทยา และงานทันตกรรมรากเทียมเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งมีความพร้อมด้านเครื่องมือที่ทันสมัย ที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคปริทันต์และรากฟันเทียม และศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก ทำให้งานวิจัยของภาควิชาเป็นที่ยอมรับและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในระดับชาติ และนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

3

งานคลินิก

นิสิตบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรของภาควิชาปริทันตวิทยาจะมีโอกาสได้วางแผนและทำการรักษาผู้ป่วยที่หลากหลาย ทั้งในงาน surgical และ non-surgical periodontal treatment เช่น การทำ regeneration, การผ่าตัดปิดเหงือกร่น, การทำ crown lengthening เป็นต้น รวมทั้งงานศัลยกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมรากเทียม เช่น การทำ free gingival graft, การทำ ridge augmentation, การทำ sinus augmentation, การฝังรากเทียม เป็นต้น คลินิกบัณฑิตปริทันตวิทยามีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องมือที่มีความทันสมัย และผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานซึ่งจะช่วยให้การทำงานของนิสิตเป็นไปอย่างราบรื่น

ความร่วมมือ

Perio Research Clusters Collaborations คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Professor Isao Ishikawa, Tokyo Women’s Medical University

ผลงาน

  • งานวิจัยตีพิมพ์เรื่อง :  In vivo periodontium formation around titanium implants using periodontal ligament cell sheet. Washio K, Tsutsumi Y, Tsumanuma Y, Yano K, Srithanyarat SS, Takagi R, Ichinose S, Meinzer W, Yamato M, Okano T, Hanawa T, Ishikawa I. Tissue Eng Part A. 2018;24(15-16): 1273-1282.
  • Patent: Title: Complex of implant and cultured periodontal ligament cell sheet, method for manufacturing the same, and method for using the same Patent No. US 10,603,410 B2 Date of Patent: 31.03.2020  Applicant: Washio Kaoru, et al. Role: Inventor

งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • Comparison of the Stem Cell Characteristics among Periodontium-Derived Human Mesenchymal Stromal Cells. (Prof. Isao Ishikawa)
  • Creation of Novel Periodontal Tissue Bearing Dental Implant: New formation of cementum around dental implants (Prof.Ishikawa, Dr.Kengo Iwasaki)

Professor Dean Morton, Indiana University School of Dentistry

ผลงาน

  • Clinician assessments and patient perspectives of single-tooth implant restorations in the esthetic zone of the maxilla: A systematic review. Arunyanak SP, Pollini A, Ntounis A, Morton D.J Prosthet Dent. 2017 Jul;118(1):10-17.

Prof. Toshiyuki Nagasawa, Health Science University of Hokkaido

งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • Measurement of IgG antibody against bacterial peptides for the differential diagnosis of  Behçet’s disease from the other oral and ocular diseases in Thailand

Associate Professor Dr.Nikos Mattheos, ITI research grant

งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • P4 medicine in peri-implant disease: predicting peri-implantitis treatment outcomes by clinical, microbiome, and host transcriptome profiling

United States Department of Justice, National Institute of Justice, Office of Justice Programs

งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ

  • Construction of the Forensic Microbiome Database with Enhanced Geosourcing Name of co-research or advisor = Lauren Brinkac Institution J. Craig Venter Institute, USA 2018

Professor Hom-Lay Wang, University of Michigan

ผลงาน

Professor Drew Weissman and Assistant Professor Norbert Pardi, University of Pennsylvania, US

ผลงาน

  • Patent Title: The Use of Growth Factor-Encoding Nucleoside-Modified mRNA for Periodontal Tissue and Bone Regeneration

Electricity Generating Authority of Thailand Study, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

ผลงาน

  • Charupinijkul A, Arunyanak S, Rattanasiri S, Vathesatogkit P, Thienpramuk L, Lertpimonchai A. The effect of obesity on periodontitis progression: the 10-year retrospective cohort study. Clinical Oral Investigations. 2021 Jan;26(1):535-42.
  • Tuntrakul S, Sutthiboonyapan P, Vathesatogkit P, Udomsak A, Tavedhikul K, Lertpimonchai A. Self-awareness of Individuals with Severe Periodontitis in Thai Adults. JDAT-DFCT (Supplement Issue). 2021:19-28.
  • Suwanprasit W, Lertpimonchai A, Thienpramuk L, Vathesatogkit P, Sritara P, Tamsailom S. Metabolic syndrome and severe periodontitis were associated in Thai adults: A cross‐sectional study. Journal of Periodontology. 2021 Oct;92(10):1420-9.
  • Chansawang K, Lertpimonchai A, Siripaiboonpong N, Thienpramuk L, Vathesatogkit P, Limpijankit T, Charatkulangkun O. The severity and extent of periodontitis is associated with cardio-ankle vascular index, a novel arterial stiffness parameter. Clinical Oral Investigations. 2021 Jun;25(6):3487-95.
  • Tiensripojamarn N, Lertpimonchai A, Tavedhikul K, Udomsak A, Vathesatogkit P, Sritara P, Charatkulangkun O. Periodontitis is associated with cardiovascular diseases: A 13‐year study. Journal of Clinical Periodontology. 2021 Mar;48(3):348-56.
  • Niramitchainon C, Mongkornkarn S, Sritara C, Lertpimonchai A, Udomsak A. Trabecular bone score, a new bone quality index, is associated with severe periodontitis. Journal of Periodontology. 2020 Oct;91(10):1264-73.
  • Mongkornkarn S, Suthasinekul R, Sritara C, Lertpimonchai A, Tamsailom S, Udomsak A. Significant association between skeletal bone mineral density and moderate to severe periodontitis in fair oral hygiene individuals. Journal of investigative and clinical dentistry. 2019 Nov;10(4):e12441.
  • Suthasinekul R, Mongkornkarn S, Sritara C, Lertpimonchai A, Tamsailom S, Udomsak A. Association of Skeletal Bone Mineral Density and Periodontitis in Postmenopausal Women of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). Journal of the dental association of Thailand. 2019:312-323.
  • Lertpimonchai A, Rattanasiri S, Tamsailom S, Champaiboon C, Ingsathit A, Kitiyakara C, Limpianunchai A, Attia J, Sritara P, Thakkinstian A. Periodontitis as the risk factor of chronic kidney disease: Mediation analysis. Journal of clinical periodontology. 2019 Jun;46(6):631-9.

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

  • อาจารย์/นักวิชาการในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม
  • ทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขาปริทันตวิทยา ประจําสถานพยาบาลในภาครัฐ และเอกชน
Periodontics 01 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Periodontics 02 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Periodontics 03 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตรการฝึกอบรม

โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม

การฝึกอบรมตามระบบเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญสาขาปริทันตวิทยา ให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพต่างๆ พ.ศ. 2555 ข้อ 38 โดย

แผนการศึกษา

  • 3 ปี (8 ภาคการศึกษา)

รายวิชาและหน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
82 หน่วยกิต
ประกอบด้วย
รายวิชาบังคับร่วม
3 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
72 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก
7 หน่วยกิต
ภาควิจัย กำหนดให้มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาต้น
สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย
มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน
มิถุนายน – กรกฎาคม

การสมัครเข้าศึกษา

เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาต่อ ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567

รายละเอียดกำหนด วัน-เวลา และสถานที่ จัดสอบ

รับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 กันยายน ถึงวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566
วิชาที่สอบ
วันและเวลาที่ทำการทดสอบ
สถานที่สอบ
1. สอบข้อเขียน
  • ความรู้ด้านปริทันตวิทยา
  • ความรู้ด้านงานวิจัย
  • ความเข้าใจในการอ่านวารสารภาษาอังกฤษ สาขาปริทันตวิทยา
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2566
(เวลา 09.00-12.00 น.)
ห้องประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์
ชั้น 18 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สอบสัมภาษณ์
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566
(เวลา 13.00 น. – 16.00 น.)
ห้องประชุมภาควิชาปริทันตวิทยา
ชั้น 18 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ :  ผู้ที่สมัครหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาปริทันตวิทยา จะต้องดำเนินการสมัครสอบคัดเลือกในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาปริทันตวิทยาและรากฟันเทียม (หลักสูตร 3 ปี) ของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย  เพื่อให้สามารถลงทะเบียนเรียน และชำระค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษา ในระบบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ ก.พ. หรือ ทันตแพทยสภารับรองและมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50
  2. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศนั้น ๆ ของผู้เข้าศึกษา และเคยประกอบอาชีพในสาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ได้คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ  CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป โดยให้ใช้ผลคะแนนที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบถึงวันประกาศผลสอบคัดเลือก (หากได้ผลคะแนนสอบ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป
  4. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

เอกสารการสมัคร

  1. สำเนาใบรับรองปริญญาบัตร, สำเนาใบแสดงผลการศึกษา ( transcript) ปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ ก.พ. หรือ ทันตแพทยสภารับรอง (ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาเอกสาร)
  2. สำเนาผลคะแนนภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี (ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาเอกสาร)  ไม่รับพิจารณาผู้สมัครที่ได้ผลคะแนน CU-TEP น้อยกว่า 30 หรือ TOEFL น้อยกว่า 400 หรือ IELTS น้อยกว่า 3.0
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาเอกสาร)
  4. สำเนาใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพทางทันตกรรม (ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาเอกสาร)
  5. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานทางทันตกรรมอย่างน้อยหนึ่งฉบับ
  6. หนังสืออนุมัติให้ลาศึกษาต่อ จากต้นสังกัด
  • ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านต้อง Add Line กลุ่มสมัครสอบ PerioCU คลิกที่ลิงค์ http://line.me/ti/g/RoQsXhEINO เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างการดำเนินการรับสมัครสอบ
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2218 8849 – 50 (คุณประภัส วารินทร์)
  • หรือที่ Line กลุ่มสมัครสอบ PerioCU
  • E-mail prapus.v@chula.ac.th

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดรับสมัคร และหลักสูตรดูได้ที่ https://www.royalthaident.org/examination/train

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องและเอกสารเผยแพร่

หมายเหตุ

ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าบำรุงราชวิทยาลัยทันตแพทย์ฯ
ตลอดหลักสูตร 21,000 บาท
อัตราค่าเล่าเรียนภาคต้นและปลาย
ภาคการศึกษาละ 48,000 บาท
อัตราค่าเล่าเรียนภาคฤดูร้อน
ภาคการศึกษาละ 12,000 บาท
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคต้นและปลาย
ภาคการศึกษาละ 40,000 บาท
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน
ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท

ผลงานวิจัยนิสิต

Perio Research Publications คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทพญ.กุลนันทน์  เลิศพิมลชัย MISS KULLANUN LERTPIMONCHAI  
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 56020101

Lertpimonchai  K, Champaiboon C. Comparison between the Efficacy of Novamin™ and Pro-argin™ Toothpastes in Dentin Permeability. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ The National and International Graduate Research Conference 2016 มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้าที่ 815-824.  

ทพ.เรืองยศ  จูวราหะวงศ์ MR. RUANGYOD JUWARAHAWONG  
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 56020102

เรืองยศ  จูวราหะวงศ์, ลลิตา  ฉัตรสถิตายุทธ, สิรินารถ  มนัสไพบูลย์, ขจร  กังสดาลพิภพ. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของซีรีแอคทีฟโปรตีนกับโรคปริทันต์ในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(EGAT). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย หน้าที่ 59-65.

ทพญ.ลลิตา  ฉัตรสถิตายุทธ MISS LALITA CHUTSATITAYUTH  
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 56020103

ลลิตา  ฉัตรสถิตายุทธ, เรืองยศ  จูวราหะวงศ์, สิรินารถ  มนัสไพบูลย์, ขจร  กังสดาลพิภพ. ระดับไขมันในเลือดกับโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มผู้ใหญ่ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย หน้าที่ 67-73.

ทพญ.ศศิธร  ญาโณทัย MISS SASITORN YANOTHAI  
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 56020104

Yanothai S, Tamsailom S. Accuracy of Intraoral Radiographs for Assessment of Infrabony Defect Morphology. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย หน้าที่ 75-80.
ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลงานวิชาการ จากการประชุมวิชาการ ประจำปี 2559

ทพญ.ธารทิพย์  สุวรรณวิจิตร MISS THARNTIP SUWANWICHIT
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 58020101

Tharntip Suwanwichit, Navawan Sophon, Teerawut Tangsathian, Kakanang Supanimitkul, Kajorn Kungsadalpipob, Sirikarn P. Arunyanak. How Thick Peri-implant Tissue Affected Esthetic Satisfaction on Single Implant Restoration in Treated Periodontal Patients. J DENT ASSOC THAI VOL.69 NO.3 JULY – SEPTEMBER 2019: Page 343-352

ทพญ.นิรมล  เธียรศรีพจมาน MISS NIRAMOL TIENSRIPOJAMARN
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 58020102

Tiensripojamarn N, Lertpimonchai A, Tavedhikul K, Udomsak A, Vathesatogkit P, Sritara P, Charatkulangkun O. Periodontitis is associated with cardiovascular diseases: A 13‐year study. Journal of Clinical Periodontology. 2021 Mar;48(3):348-56.

ทพญ.นิศาชล  สิริไพบูลย์พงศ์ MISS NISACHON SIRIPAIBOONPONG
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 58020103

Siripaiboonpong N, Matangkasombut O, Pengcharoen H, Boonchaiyapluk B, Rujiraprasert P, Srithanyarat SS. Microbiological Effects of Virgin Coconut Oil Pulling in Comparison with Palm Oil Pulling as an Adjunctive Oral Hygiene Care for Patients with Gingival Inflammation: A Randomized Controlled Clinical Trial. Journal of Indian Society of Periodontology. 2022 Jan 1;26(1):58.

ทพญ.รภัชตา  สุธาสินีกุล MISS RAPATCHATA SUTHASINEKUL
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 58020104

Rapatchata Suthasinekul, Sanutm Mongkornkarn, Chanika Sritara, Attawood Lertpimonchai, Suphot Tamsailom, Artit Udomsak. Association of Skeletal Bone Mineral Density and Periodontitis in Postmenopausal Women of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) J DENT ASSOC THAI VOL.69 NO.3 JULY – SEPTEMBER 2019: Page 312-323.

ทพญ.วินิตา  สุวรรณประสิทธิ์ MISS WINITA SUWANPRASIT
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 58020105

Suwanprasit W, Lertpimonchai A, Thienpramuk L, Vathesatogkit P, Sritara P, Tamsailom S. Metabolic syndrome and severe periodontitis were associated in Thai adults: A cross‐sectional study. Journal of Periodontology. 2021 Oct;92(10):1420-9.

ทพญ. ชุตินันท์  นิรมิตไชยนนท์ (ป.สูง) MISS CHUTINUN   NIRAMITCHAINON
Niramitchainon C, Mongkornkarn S, Sritara C, Lertpimonchai A, Udomsak A. Trabecular bone score, a new bone quality index, is associated with severe periodontitis. Journal of Periodontology. 2020 Oct;91(10):1264-73.

ทพญ.กมลชนก  กมลนฤเมธ MISS KAMOLCHANOK  KAMOLNARUMETH
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 59020101

Kamolnarumeth K, Thussananutiyakul J, Lertchwalitanon P, Rungtanakiat P, Mathurasai W, Sooampon S, Arunyanak SP. Effect of mixed chlorhexidine and hydrogen peroxide mouthrinses on developing plaque and stain in gingivitis patients: A randomized clinical trial. Clinical Oral Investigations. 2021 Apr;25(4):1697-704.

ทพญ.กัญญ์สุรางค์  จันทร์สว่าง MISS KANSURANG   CHANSAWANG
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 59020102

Chansawang K, Lertpimonchai A, Siripaiboonpong N, Thienpramuk L, Vathesatogkit P, Limpijankit T, Charatkulangkun O. The severity and extent of periodontitis is associated with cardio-ankle vascular index, a novel arterial stiffness parameter. Clinical Oral Investigations. 2021 Jun;25(6):3487-95.

ทพญ.นภัสสร  องค์พิเชฐเมธา MISS NAPASSORN   ONGPHICHETMETHA
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 59020103

Ongphichetmetha N, Lertpimonchai A, Champaiboon C. Bioactive glass and arginine dentifrices immediately relieved dentine hypersensitivity following non‐surgical periodontal therapy: A randomized controlled trial. Journal of Periodontology. 2022 Feb;93(2):248-57.

ทพญ.รัชตะวัน  ศิริพันธ์ MISS RATCHATAWAN   SIRIPHAN
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 59020104

Siriphan R, Tavedhikul K, Lertpimonchai A. Periodontitis progression and prognostic factors in questionable teeth during supportive periodontal therapy. KDJ [Internet]. 2021 Dec. 9 [cited 2022 Apr. 27];24(3):27-3. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KDJ/article/view/247708

ทพญ.สุขุมา  มโนพัฒนาสุนทร MISS SUKUMA   MANOPATTANASOONTORN
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 59020105

Manopattanasoontorn S, Supanimitkul K, Tangsathian T, Sophon N, Arunyanak SP, Kungsadalpipob K. Association between keratinized mucosa width and peri-implant diagnostic parameters in Asian maintenance compliers: A Cross-sectional study. Journal of the International Academy of Periodontology. 2021 Apr 1;23(2):167-78.

ทพญ.อภินันท์ จารุพินิจกุล MISS APINUN CHARUPINIJKUL
Charupinijkul A, Arunyanak S, Rattanasiri S, Vathesatogkit P, Thienpramuk L, Lertpimonchai A. The effect of obesity on periodontitis progression: the 10-year retrospective cohort study. Clinical Oral Investigations. 2022 Jan;26(1):535-42.

ทพญ.ศุภางค์ ตันตระกูล MISS SUPANG TUNTRAKUL
Tuntrakul S, Sutthiboonyapan P, Vathesatogkit P, Udomsak A, Tavedhikul K, Lertpimonchai A. Self-awareness of Individuals with Severe Periodontitis in Thai Adults. JDAT-DFCT (Supplement Issue). 2021:19-28.

ทพ.อนวัช อมาตยกุล ศุภกิจเจริญ MR. ANAWAT   AMATYAKUL SUPPAKITJAREON
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 60020104

Amatyakul Suppakitjareon A, Mahanonda R, Sa-Ard-Iam N, Chanamuangkon T,Rek-yen P ,Wisitrasameewong W. In vivo Protein Expression after Delivery of Modified mRNA Encoding Bone Morphogenetic Protein – 2 into Rat Gingiva Using Different Delivery Systems: A Pilot Study. J Dent Assoc Thai. April- June 2022;72(2):373-379.

ทพญ.ศุภากานต์  ภักดีเศรษฐกุล MISS SUPHAKAN   PAKDEESETTAKUL
เลขประจำตัวราชวิทยาลัย : 61020105

Pakdeesettakul S, Charatkulangkun O, Lertpimonchai A, Wang HL, Sutthiboonyapan P. Simple flowcharts for periodontal diagnosis based on the 2018 new periodontal classification increased accuracy and  clinician confidence in making a periodontal diagnosis: a randomized crossover trial. Clin Oral Investig. 2022 Aug 9. doi: 10.1007/s00784-022-04662-z. Online ahead of print.

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาปริทันตวิทยา

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 11 อาคารสมเด็จย่า 93
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • Tel. +66 2218 8849 – 50
  • Email prapus.v@chula.ac.th
  • Facebook

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.