หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก

Residency Training Program in Oral Diagnostic Sciences

shutterstock 1533288497 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

3 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ

จุดเด่นของหลักสูตร

  • คณาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์เวชศาสตร์ช่องปาก
  • ผู้เรียนจะได้รับการฝึกอบรมครบถ้วนในศาสตร์วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

รับสมัครตามประกาศราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย

https://www.royalthaident.org

ภาพรวมของหลักสูตร

หลักสูตรที่มีการฝึกอบรม 3 ปี เพื่อเป็นทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก แขนงวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก มีการฝึกอบรมในงานด้านเวชศาสตร์ช่องปาก พยาธิวิทยาช่องปาก และรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อให้สามารถบูรณาการวิชาเหล่านี้ ประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค และดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้หลักสูตรกำหนดให้มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง


ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

caroline lm 8BkF0sTC6Uo unsplash คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันที่มีจำนวนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ช่องปากมากที่สุดในประเทศ มีหลักสูตรด้านเวชศาสตร์ช่องปากให้เลือกหลายหลาย มีผู้ป่วยด้านเวชศาสตร์ช่องปากจำนวนมากและหลากหลายให้นิสิตได้เรียนรู้  ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากได้รับความร่วมมือกับภาควิชาเภสัชวิทยา ทำการวิจัยผลิตยาที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเวชศาสตร์ช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีสภาพแวดล้อมและมีความพร้อมต่อการเรียนการสอน สถานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเดินทางสะดวกสามารถเดินทางมาได้หลายวิธี

สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร

เวชศาสตร์ช่องปากเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับ การตรวจ วินิจฉัย และการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีโรคเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก รอยโรคที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งช่องปาก และความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า รวมทั้งให้การบำบัดรักษาทางเวชศาสตร์ช่องปากและทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบอย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบัน ทันตแพทย์ที่มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ยังมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของสังคม ดังนั้นหลักสูตรด้านเวชศาสตร์ช่องปากของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านเวชศาสตร์ช่องปาก และเพื่อผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเวชศาสตร์ช่องปากในระดับแนวหน้าของประเทศและระดับนานาชาติ อีกทั้งส่งเสริมให้นิสิตบัณฑิตปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ โดยจะมีทั้งสิ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ 
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก เป็นหลักสูตร 2 ปี จะเน้นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยเวชศาสตร์ช่องปาก
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร 3 ปี โดยมีการเรียนการสอนในสาขาพยาธิวิทยาช่องปากและรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลด้วย 
3. หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก แขนงวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก เป็นหลักสูตร 3 ปี เมื่อจบหลักสูตรสามารถขอสอบเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก 
ทั้งนี้ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากมีความพร้อมสูงทั้งในด้านคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง และด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเรียนการสอนและการทำวิจัย และยังเป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักสูตร

รศ.ทญ.ดร.พรพรรณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร. พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • อาจารย์/นักวิชาการในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม โดยเฉพาะสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก
  • ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปากในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขทั้งในภาครัฐและเอกชน
hg3 students คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg5 lab คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรและการฝึกอบรม

ประกอบด้วย

ภาควิชาการ โดยการบรรยาย การนำเสนอทางวิชาการ การสัมมนาวารสาร การประชุมวิชาการ
หมวดวิชาพื้นฐานบังคับ
หมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
หมวดวิชาหลักเฉพาะทาง
วิชาเลือก
ภาคปฏิบัติ ระยะเวลาในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ในเวลา 3 ปี
ภาควิจัย กำหนดให้มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

หมายเหตุ

  • งานวิจัยสามารถเริ่มปฏิบัติได้ตั้งแต่ ปีที่ 1 – ปีที่ 3

แผนการศึกษา

  • 3 ปี 8 ภาคการศึกษา 

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1
เริ่มประมาณต้นเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม (หรือตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หรืออาจมีการเรียนบางรายวิชาก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 2
เริ่มประมาณต้นเดือนมกราคมถึงต้นเดือนพฤกษาคม

การสมัครเข้าฝึกอบรม

กำหนดการรับสมัคร และข้อกำหนดต่าง ๆ เป็นไปตามระเบียบของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.royalthaident.org/home

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียน
25,000 ต่อภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมพิเศษ
หลักสูตรไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มเติม

หมายเหตุ

  • ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
  • ราชวิทยาลัยฯ มีทุนเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำวิจัย 10,000 บาทต่อคน
  • ทุนการศึกษาขึ้นกับต้นสังกัดที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับ

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 17 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8942 

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.