หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก

Master of Science Program in Oral Medicine

shutterstock 1533288497 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

2 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

ปริญญาโท

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย

จำนวนหน่วยกิต

39 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

  • สอนโดยคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถด้านเวชศาสตร์ช่องปาก
  • ได้ฝึกทักษะทางคลินิกควบคู่กับการทำวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ช่องปาก

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

รับสมัครตามประกาศจุฬาฯ

ภาพรวมของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและทักษะทางคลินิก  เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางเวชศาสตร์ช่องปาก  โดยหลักสูตรนี้ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการที่มีอยู่ในปัจจุบัน


ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

caroline lm 8BkF0sTC6Uo unsplash คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและทักษะทางคลินิกโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ช่องปากที่มีคุณวุฒิและศักยภาพระดับสูง  นอกจากนี้ยังมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเรียนการสอนและการทำวิจัยในระดับสูง 

สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร

เวชศาสตร์ช่องปากเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับ การตรวจ วินิจฉัย และการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีโรคเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก รอยโรคที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งช่องปาก และความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า รวมทั้งให้การบำบัดรักษาทางเวชศาสตร์ช่องปากและทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบอย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบัน ทันตแพทย์ที่มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ยังมีน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของสังคม ดังนั้นหลักสูตรด้านเวชศาสตร์ช่องปากของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านเวชศาสตร์ช่องปาก และเพื่อผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเวชศาสตร์ช่องปากในระดับแนวหน้าของประเทศและระดับนานาชาติ อีกทั้งส่งเสริมให้นิสิตบัณฑิตปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ โดยจะมีทั้งสิ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ 
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก เป็นหลักสูตร 2 ปี จะเน้นการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยเวชศาสตร์ช่องปาก
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร 3 ปี โดยมีการเรียนการสอนในสาขาพยาธิวิทยาช่องปากและรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลด้วย 
3. หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก แขนงวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก เป็นหลักสูตร 3 ปี เมื่อจบหลักสูตรสามารถขอสอบเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก 
ทั้งนี้ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากมีความพร้อมสูงทั้งในด้านคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง และด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเรียนการสอนและการทำวิจัย และยังเป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละหลักสูตร

รศ.ทญ.ดร.พรพรรณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • อาจารย์/นักวิชาการในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรม โดยเฉพาะสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก
  • ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ช่องปากในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขทั้งในภาครัฐและเอกชน
hg3 students คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg5 lab คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

  • แผน ก แบบ ก2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
39 หน่วยกิต
ประกอบด้วย
รายวิชาเรียน
27 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ
25 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก
2 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
12 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

  • 2 ปี 4 ภาคการศึกษา

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1
เริ่มประมาณต้นเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนธันวาคม (ตามประกาศภาคการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ภาคการศึกษาที่ 2
เริ่มประมาณต้นเดือนมกราคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม

การสมัครเข้าศึกษา

Master of Science Program in Oral Medicine

  • Period of Admission: September 4, 2023 – November 15, 2023

Procedure of admission

  1. Please read and following procedure of admission
    Thai version: https://drive.google.com/file/d/10z06YfUbbZHJBSNfgGH0-VTowkaQIBz9/view?usp=sharing
    English version: https://drive.google.com/file/d/1ASUaDfVqX8FHFa1DZuCRjm9Va4G2QEoc/view?usp=sharing
  2. Application documents must copy to pdf files or image files
  3. Fill Application Form and Upload Application documents https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc2WwJRue_b4yHjLaEQwX9luaNVOMluO1zMv6sQgUrnMM8Kug/viewform
  4. Pay the application fee and upload pay-in slip
  5. Staff sent confirmation email of application within 5 workdays

For further information pertaining to applicant’s qualifications, please contact

Assoc. Prof. Chanwit Prapinjumrune, D.D.S., Ph.D.
Department of Oral Medicine,
08.30 am – 04.00 pm 
17th Floor, Borommanard Srinakarin Building 

  • Tel. (+66) 0 2218 8942, 0 2218 8940, 0 2218 8937

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียนภาคต้นและปลาย
ภาคการศึกษาละ 48,000 บาท
ค่าธรรมเนียมพิเศษ
หลักสูตรไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มเติม

ผลงานวิจัยของนิสิต

  1. Saengprasittichok N, Sucharitakul J, Matangkasombut O, Prapinjumrune C. Effect of fluocinolone acetonide (0.1%) treatment in oral lichen planus patients on salivary lactoferrin levels and Candida colonization: a prospective study. BMC Oral Health 2022;22(58). DOI:10.1186/s12903-022-02096-3
  2. Pariyawathee S, Phattarataratip E, Thongprasom K. CD146 expression in oral lichen planus and oral cancer. Clin Oral Investig. 2020 Jan;24(1):325-332. DOI:10.1007/s00784-019-02871-7. Epub 2019 May 17. PMID: 31102047.
  3. Yiemstan S, Krisdapong S, Piboonratanakit P. Association between clinical signs of oral lichen planus and oral health-related quality of life: A preliminary study. Dent. J. October 2020;8(4): Article number 113 DOI:10.3390/dj8040113
  4. Srisuntorn P, Bhalang K, Arirachakaran P. HPMC Based Mucoadhesive for Delivery of Triamcinolone Acetonide: Mucoadhesion and Drug Release Properties, An In Vitro Study. J Dent Assoc Thai. April 2018;68(2):121-131.
  5. Amnuaiphanit P, Piboonratanakit P, Dhanuthai K, Mahanonda R, Kamolratanakul P. CD103+ Tissue Resident Memory T Cells in Oral Lichen Planus. The 16th National Scientific Conference of The Dental Faculty Consortium of Thailand. Songkhla, Thailand. 18-20 July 2018:248-253
  6. Prucktrakul C, Youngnak-Piboonratanakit P, Kanjanabuch P, Prueksrisakul T, Thongprasom K. Oral lichenoid lesions and serum antinuclear antibodies in Thai patients. J Oral Pathol Med. 2015 Jul;44(6):468-74. doi: 10.1111/jop.12257. Epub 2014 Sep 12. PMID: 25213373.
  7. วรางคณา   ยรรยงเกษมสุข, ประทานพร   อารีราชการัณย์, ชาญวิทย์   ประพิณจำรูญ. ความสัมพันธ์ของทันตสุขศึกษากับการพบราแคนดิดาในช่องปากของผู้ป่วยโรคไลเคนแพลนัสที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.1. รายงานการประชุมวิชาการของการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 15 2557: 1216-1223.
  8. Nakpipat P, Piboonratanakit P, Prapinjumrune C, Kanjanabut P, Singkharothi K, Subbalekha K, Azuma M. Foxp3+ regulatory T cells in oral lichen planus. Proceeding of the 3rd BMB International Conference on Biochemistry and Molecular Biology 2011: 10-13.
  9. Youngnak-Piboonratanakit P, Dhanuthai K, Thongprasom K, Luckprom P, Sarideechaigul W, Luangjarmekorn L, Azuma M. Expression of IFN-gamma before and after treatment of oral lichen planus with 0.1% fluocinolone acetonide in orabase.J Oral Pathol Med. 2009 Oct;38(9):689-94.
  10. Bhalang K, Suesuwan A, Dhanuthai K, Sannikorn P, Luangjarmekorn L, Swasdison S. The application of acetic acid in the detection of oral squamous cell carcinoma. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod. 2008 Sep;106(3):371-6.
  11. Thongprasom K, Dhanuthai K, Sarideechaigul W, Chaiyarit P, Chaimusig M. Expression of TNF – α   in oral lichen planus treated with fluocinolone acetonide 0.1%. J Oral Pathol Med 2006, 35: 161-6.
  12. Klanrit P, Thongprasom K, Rojanawatsirivej S, Theamboonlers A, Poovorawan Y. Hepatitis C virus infection in Thai patients with oral lichen planus. Oral Dis. 2003 Nov;9(6):292-7. DOI:10.1034/j.1601-0825.2003.00955.x. PMID: 14629329.

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 17 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • Tel. +66 2218 8942 

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.