งานวิจัยภาควิชาทันตกรรมชุมชน

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

งานวิจัยเด่น

ภาควิชาทันตกรรมชุมชนดำเนินงานวิจัยที่สำคัญในหลายด้านของทันตแพทยศาสตร์ ครอบคลุมทั้งการป้องกัน รักษา และส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การพัฒนาสื่อการสอน และการวางนโยบายสาธารณสุข โดยมีงานวิจัยเด่นดังนี้:

  • งานวิจัยทางระบาดวิทยา ได้แก่ การศึกษาการกระจายและปัจจัยเสี่ยงของรอยโรคเสี่ยงมะเร็งช่องปากในประเทศไทย การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน
  • งานวิจัยด้านทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ การศึกษาประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (SDF) ในการควบคุมฟันผุ การสำรวจความรู้ พฤติกรรม และความรอบรู้ทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ การประเมินผลโครงการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย
  • งานวิจัยด้านเทคโนโลยีทันตกรรม ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชัน myRisk สำหรับประเมินความเสี่ยงฟันผุ แอปพลิเคชัน Tooth Memo สำหรับบันทึกข้อมูลสุขภาพช่องปาก Thai Teledentistry แพลตฟอร์มปรึกษาทางไกลผ่านข้อความและวิดีโอ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการตรวจคัดกรองทางทันตกรรม
  • งานวิจัยด้านนโยบายสาธารณสุข ได้แก่ การวิเคราะห์แนวโน้มฟันผุในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุไทย การศึกษาผลกระทบของภาษีน้ำตาลต่ออัตราการเกิดโรคฟันผุ การวางแผนทรัพยากรบุคคลทางทันตสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • งานวิจัยกลุ่มเสี่ยงสูง ได้แก่ การศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพช่องปากและการเข้าถึงบริการในกลุ่มอพยพชาวเมียนมาร์ การประเมินสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กตาบอด การศึกษาสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ

งานวิจัยเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของภาควิชาในการพัฒนาความรู้และแนวทางปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างยั่งยืน

โครงการวิจัยที่ดำเนินการ

ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรมในโรงเรียนมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ครอบคลุมโรงเรียนหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร กิจกรรมภายใต้โครงการนี้ประกอบด้วยการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และการรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็นบางประเภทแก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ดำเนินการโดยนิสิตทันตแพทย์ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์

เพื่อประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของโครงการ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและการให้บริการทันตกรรมในโรงเรียน” จึงถูกนำมาใช้ โดยอาศัยการประเมินผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คำนึงถึงประโยชน์ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ทุกฝ่าย เพื่อให้สามารถประเมินผลกระทบได้อย่างครอบคลุมและสะท้อนคุณค่าทางสังคมที่แท้จริง

ทั้งนี้ ผลการประเมินจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร การดำเนินโครงการต่อเนื่อง และการขยายโครงการได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มากขึ้น

ผลงานวิจัย

  1. Oral health-related quality of life of elders in community-dwelling elders after silver diamine fluoride application
  2. A pilot study on the effectiveness of dental health-learning book using active learning method for primary education
  3. Oral health status and related factors in Mild Cognitive Impairment (MCI): A community-based study in Thai elders

นักวิจัย

Pagaporn Pantuwadee Pisarnturakit คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.ผกาภรณ์ พันธุวดี พิศาลธุรกิจ

Profile

ภฑิตา ภูริเดช คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.ภฑิตา ภูริเดช

Profile

ผศ.ทพญ.ดร.พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพญ.ดร.พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์

Profile

อ.ทพญ.ดร.นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ทพญ.ดร.นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา

Profile

Issarapong Kaewkamnerdpong คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ทพ.ดร.อิสระพงศ์ แก้วกำเหนิดพงษ์

Profile

อ.ทพญ.ปณัทชา วีระพล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ.ทพญ.ปณัทชา วีระพล