โครงการประชุมวิชาการร่วมกับ International Team for Implantology (ITI) เรื่อง Computer Assisted Implant Surgery
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567
“เพื่อให้ทันตแพทย์ได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ และนักวิจัยจากนานาประเทศ และเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่จะทำให้ทันตแพทย์จากทั่วโลกรับทราบการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็น paradigm ใหม่ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมประชุม”
หลักการและเหตุผล
การฝังรากฟันเทียมในปัจจุบันถือเป็น การรักษาที่เป็นมาตรฐานในการใส่ฟันทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยมีผลสำเร็จมากกว่า 95% อย่างไรก็ตามพบว่ามีปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังการใส่รากฟันเทียมอยู่ ตั้งแต่ อาการเจ็บปวดหลังการใช้งาน ปัญหาเหงือกอักเสบ กระดูกละลาย รากฟันเทียมโยก หรือรากฟันเทียมหลุด ซึ่งปัญหาหลักที่เป็นเบื้องหลังของปัญหาทั้งหมดนี้มักมาจากการใส่รากฟันเทียมที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ผิดทั้งตำแหน่งและองศา ถึงแม้จะมีความพยายามในการปรับเปลี่ยน paradigm ของการฝังรากฟันเทียมจากการฝังบริเวณที่มีกระดูกโดยไม่สนใจตำแหน่งฟันในอนาคต มาเป็นการฝังรากฟันเทียมให้ตรงกับฟันในอนาคตโดยใช้แบบกำหนดตำแหน่งที่ถูกออกแบบด้วยวิธีทางแลปทั่วไป การศึกษาทางคลินิกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ถ้าใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการฝังรากฟันเทียมที่เริ่มตั้งแต่ การใช้เครื่องสแกนฟัน เอกซเรย์สามมิติ โปรเเกรมออกแบบตำแหน่งรากฟันเทียมและแบบกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียม ตลอดจนการใช้ระบบนำทางดริลที่เจาะกระดูกฝังรากฟันเทียม จะช่วยให้เกิดความแม่นยำในการฝังรากฟันเทียมให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องถูกองศามากขึ้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังใหม่และยังไม่ได้ใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากทันตแพทย์หลายท่านยังขาดองค์ความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนการทำงาน การฝังรากฟันเทียมใน paradigm ใหม่ที่จะต้องปรับเปลี่ยน ภาควิชาฯได้รับเกียรติจากองค์กร ITI ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติชั้นนำในการสร้างองค์ความรู้ในการรักษาด้วยรากฟันเทียมในการร่วมจัดการประชุมวิชาการ โดยนำผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ และนักวิจัยที่ทำงานทางด้านนี้จากนานาประเทศมาให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 84 ปี เพื่อให้การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่จะทำให้ทันตแพทย์จากทั่วโลกรับทราบว่าการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมจะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็น paradigm ใหม่นี้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง CAIS แก่ทันตแพทย์ที่เข้าร่วมประชุม
- สรุป consensus การใช้ CAIS ในหมู่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อสรุปองค์ความรู้ใหม่ออกมาเป็นแบบแผนการทำงานที่ชัดเจน และตีพิมพ์ในวารสารในระดับนานาชาติ
ผู้ที่เหมาะกับหลักสูตรนี้
- ทันตแพทย์นานาชาติที่สนใจทำรากฟันเทียม
- ศัลยแพทย์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ศัลยแพทย์ช่องปาก ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านปริทันต์และทันตกรรมประดิษฐ์ที่สนใจ
- นิสิต นักศึกษา ที่สนใจ
ระยะเวลาโครงการ
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567
ค่าลงทะเบียน
- สมาชิก ITI: 3,500 บาท
- ไม่ใช่สมาชิก ITI: 5,000 บาท
- นิสิตนักศึกษา: 1,000 บาท
- อาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์: 1,000 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณนนทพร บัวทอง
การลงทะเบียน
เอกสารที่แนบมา
Language
English
หน่วยงาน
ติดต่อหลักสูตร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330