หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจําบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์

Residency Training Program in Endodontics

shutterstock 1405987151 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

3 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย

จำนวนหน่วยกิต

80 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นทั้งเนื้อหาความรู้ การฝึกปฎิบัติงานทางคลินิกสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ที่มีผู้ป่วยหลากหลายและ สามารถทำวิจัยจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร สามารถสอบวุฒิบัตร ส่วนข้อเขียนได้ตั้งแต่จบปี 2 และสามารถสอบส่วนปากเปล่าได้เมื่อศึกษาจบการฝึกอบรม

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

เปิดรับสมัครประมาณเดือนกันยายน ตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย

ความเป็นมาของหลักสูตร

หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ โดยมีภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันหลัก เริ่มเปิดรุ่นแรกในปีการศึกษา 2548 แล้วเปิดรับผู้ฝึกอบรมทุกปีจนถึงปัจจุบัน หลักสูตรนี้มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่อย่างต่อเนื่องโดยมีการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรทุกเดือน และได้รับการประเมินคุณภาพสถาบันหลักทุกๆ 5 ปี จากราชวิทยาลัยฯ ซึ่งได้รับการประเมินล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

หลักการและเหตุผล

เพื่อผลิตทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ให้มีความรู้ความชำนาญ ดังนี้

  • มีความรู้ความเข้าใจ ในด้านวิทยาศาสตร์คลินิกที่เกี่ยวข้องกับวิทยาเอ็นโดดอนต์เป็นอย่างดี เข้าใจกลไกการเกิดและการดำเนินโรค  สามารถนำมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการติดตามผลของการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์  ในกรณีที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก โดยให้การตรวจพิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผน พยากรณ์ และรักษาโรคได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย  สามารถให้การรักษาร่วมกับแพทย์ หรือทันตแพทย์ 
  • สาขาอื่น รวมทั้งสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • มีนิสัยใฝ่รู้ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาและสามารถให้คำแนะนำปรึกษา  และถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้
  • มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม  เป็นผู้มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการทำงานวิจัย สามารถทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยได้
  • มีความสามารถในการวิจารณ์  และประเมินผลงานวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์

หลักสูตรมีเป้าหมายให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ และทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้การรักษาผู้ป่วยต่อไป โดยผู้ฝึกอบรมที่จบจากหลักสูตรนี้ส่วนใหญ่ผ่านการสอบวุฒิบัตร สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

Why Endodontics At Chula คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1

อาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถมีจำนวนเพียงพอสำหรับผู้ฝึกอบรม การเรียนการสอนเป็นกันเอง เน้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น และคิดวิเคราะห์ 

2

อุปกรณ์เครื่องมือเพียงพอและทันสมัย ในคลินิกบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและจำเป็นในการรักษาคลองรากฟัน เช่น Dental operating microscope ทุกเก้าอี้ทำฟัน เครื่อง ultrasonic เครื่องมืออุดคลองรากฟันแบบ warm vertical compaction และอุปกรณ์ในการทำศัลยกรรมปลายราก พร้อมทั้งมีวัสดุหลากหลายให้เลือกใช้งาน

3

ผู้ป่วยหลากหลายประเภทให้ฝึกปฏิบัติคลินิก และมีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลอื่น

4

ห้องสมุด และระบบ wifi ที่ดีเยี่ยม ผู้เรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูลหนังสือ วารสาร งานวิจัยต่างๆได้อย่างสะดวก

5

สถานที่อยู่ใจกลางเมือง เดินทางมาได้สะดวกมีรถไฟฟ้า รถประจำทางผ่านหลายสาย และใกล้แหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหารสามารถผ่อนคลายได้หลังเลิกเรียน

ความร่วมมือ

มีสถามบันสมทบคือ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมได้รับการฝึกปฏิบัติการคลินิกในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคทางระบบต่างๆ

Rama Logo Color 01 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Logo PMK new คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร

“หลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่มีการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์แห่งวิทยาเอ็นโดดอนต์ที่ถูกต้อง รู้จักที่มาขององค์ความรู้ และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำความรู้ความสามารถไปประยุกต์ใช้ในการรักษาคลองรากฟันได้อย่างถูกต้อง และสามารถสอบเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้ ผู้รับการฝึกอบรมจะได้รับการเรียนทั้งการบรรยาย สัมมนา และการฝึกปฏิบัติการอย่างเต็มที่ตลอด 3 ปีการศึกษา อีกทั้งยังสามารถทำงานวิจัยที่น่าสนใจและมีคุณภาพ หลายครั้งที่นิสิตบัณฑิตศึกษาของเราได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับสูงและเป็นที่ยอมรับในทางทันตแพทยศาสตร์ นอกจากนี้สถาบันของเรายังมีอุปกรณ์เพียบพร้อมและกรณีผู้ป่วยที่หลากหลายให้นิสิตได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่ อาจารย์ผู้สอนมีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้นิสิตได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี”

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นสาขาที่สำคัญเพราะมีบทบาทในการรักษาผู้ป่วยและช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วย อีกทั้งงานรักษาคลองรากฟันเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญสูงทำให้ในปัจจุบันยังเป็นสาขาขาดแคลน และยังเป็นที่ต้องการสูงทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน

hg3 students คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg5 lab คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

  • ภาควิชาการ ประกอบด้วย การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนา วารสาร สโมสร ดังนี้
    • วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องร้อยละ 30 และ วิชาเฉพาะสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์และวิชาที่เกี่ยวข้องร้อยละ 70 ประกอบด้วย     
  • ภาคปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติงานในสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์มีระยะเวลาฝึกอบรมปฏิบัติงานตลอด 3 ปี
  • ผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การทำงานวิจัยของ ทันตแพทย์ประจำบ้าน พ.ศ.2561                               
  • วิชาเลือก (electives)  1 หน่วยกิต

แผนหลักสูตร

ปี 1
เน้นวิชาบรรยาย การฝึกปฏิบัติการในฟันถอน และเริ่มฝึกในคลินิก หาหัวข้อวิจัย
ปี 2
เน้นฝึกปฏิบัติการในคลินิก และสอบโครงร่างและดำเนินการทำวิจัย
ปี 3
เน้นฝึกปฏิบัติการในคลินิก และสอบวิจัย

วิชาสัมมนา: เรียนทุกภาคการศึกษาต้น/ปลายทุกชั้นปี

ข้อมูลหลักสูตร (Curriculum)

ข้อมูลหลักสูตรสามารถดูได้ที่ website ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย www.royalthaident.org หัวข้อทันตแพทย์ประจำบ้าน

ปฏิทินการศึกษา

เริ่มเปิดเรียน ช่วงปลายเดือนมิถุนายน และจบการฝึกอบรมปลายเดือนกรกฏาคมของปีที่ 3

การสมัครเข้าศึกษา

ขั้นตอนการสมัคร

สำหรับหลักสูตรนี้ต้องสมัครผ่านราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ติดตามรายละเอียดข้อมูลหลักสูตรและกำหนดการรับสมัครได้ที่ website ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย www.royalthaident.org หัวข้อทันตแพทย์ประจำบ้าน 

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

แต่ละปีการศึกษาจะรับผู้ฝึกอบรมที่มีสังกัดในระบบราชการอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนรับในปีนั้น ผู้สมัครที่มีสังกัดจะต้องส่งหลักฐานอนุมัติการลาศึกษาต่อของหลักสูตรนี้จากต้นสังกัด ผู้สมัครจะต้องได้รับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภามาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

ตามกำหนดการของราชวิทยาลัยฯ

ติดตามข้อมูลหลักสูตรและกำหนดการรับสมัครได้ที่ website ของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย www.royalthaident.org หัวข้อทันตแพทย์ประจำบ้าน 

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ภาคต้น/ปลาย
ภาคการศึกษาละ 90,000 บาท
ภาคฤดูร้อน
ภาคการศึกษาละ 45,000 บาท

กิจกรรมของหลักสูตร

  • โครงการทันตกรรมบ้านปากเกร็ด ผู้ฝึกอบรมจะได้ไปทำการรักษาคลองรากฟันให้เด็กด้อยโอกาสที่บ้านปากเกร็ด
  • โครงการออกหน่วยพระราชทาน ผู้ฝึกอบรมชั้นปี 3 จะได้ออกหน่วยเพื่อทำการรักษาคลองรากฟันให้ผู้ป่วยตามต่างจังหวัด
  • กิจกรรมทำฟันฟรีของคณะ ทุกวันทันตสาธารณสุขของปีจะได้ร่วมทำฟันฟรีให้กับผู้ป่วย
  • จัดงานประชุมวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง นิสิตบัณฑิตศึกษาของสาขาจะได้ร่วมงานประชุมวิชาการของสาขาหรือช่วยงานเป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ 

ผลงานวิจัยนิสิต

  • Nuamwisudhi P and Jearanaiphaisarn T. Oral Functional Behaviors and Tooth Factors Associated with Cracked Teeth in Asymptomatic Patients. J Endod 2021;47:1383–1390.
  • Sinsareekul C and Hiran-us S. Comparison of the efficacy of three different supplementary cleaning protocols in root-filled teeth with a bioceramic sealer after retreatment—a micro-computed tomographic study. Clin Oral Investig 2022;26: 3515–3521.
  • Thanaruengrong P, Kulvitit S, Navachinda M and Charoenlarp P.Prevalence of complex root canal morphology in the mandibular first and second premolars in Thai population: CBCT analysis. BMC Oral Health. 2021;21(1):449.
  • Hanuksornnarong P and Jearanaiphaisarn T. Comparison Video Based Learning Versus Live Demonstration of Dental Student Knowledge and Skills for Working Length Determination Using Electronic Apex Locator. J DENT ASSOC THAI VOL.69 NO.1 JANUARY – MARCH 2019: 101-109.

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 10 อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ 
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8795
  • Facebook

อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร

  • รศ.ทพญ.ถนอมศุก เจียรนัยไพศาล (ผู้อำนวยการหลักสูตร)

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.