หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์

Master of Science Program in Endodontics

shutterstock 1405987151 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

2 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

ปริญญาโท

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย

จำนวนหน่วยกิต

37 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรนี้เน้นให้บัณฑิตที่จบการศึกษา มีความรู้ในศาสตร์ของสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ตลอดจนสามารถค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยาเอ็นโดดอนต์ รวมถึงการประดิษฐ์อุปกรณ์และวัสดุที่จะนำมาใช้ในงานการรักษาคลองรากฟัน ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการรักษาให้สูงขึ้น และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

เปิดรับสมัครประมาณเดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม

ความเป็นมาของหลักสูตร

เนื่องด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ระดับมหาบัณฑิต ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่น ๆ ในสายงานทันตแพทย์ ในขณะที่ความต้องการผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชานี้ยังมีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการคณาจารย์ ที่รับผิดชอบการเรียนการสอนสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ในหน่วยงานทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543  ปัจจุบันวิทยาการต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรปัจจุบันให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับองค์ความรู้ที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการศึกษาในสาขาทันตแพทยศาสตร์ มีทั้งการศึกษาทางวิชาการ วิจัย และวิชาชีพเฉพาะ ผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการตรวจ วินิจฉัย วางแผนการรักษา และให้การรักษาผู้ป่วย รวมทั้งมีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทำให้มีความจำเป็นต้องผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ที่สามารถถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ในการรักษาคลองรากฟัน และทำการวิจัยทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

Why Endodontics At Chula คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1

อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ผู้สอนมีคุณวุฒิ และความรู้ความสามารถทั้งด้านคลินิกและการวิจัยทางวิทยาเอ็นโดดอนต์

2

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในคลินิก

คลินิกบัณฑิตศึกษาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ (Endodontic Excellence Center) มีเครื่องมือ วัสดุที่ทันสมัยสำหรับงานรักษาคลองรากฟัน เช่น กล้องจุลทรรศน์ปฏิบัติการสำหรับงานทันตกรรม (Dental Operating Microscope) เครื่องอัลตราโซนิกพร้อมอุปกรณ์ เป็นต้น

ความร่วมมือ

78306040 2479300462180104 1179983947510054912 n คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรมีความร่วมมือกับ Tokyo Medical and Dental University ในการจัดวิชาสัมมนาทางวิทยาเอ็นโดดอนต์

 สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาเอ็นโดอนต์ ได้จัดการเรียนการสอนสำหรับทันตแพทย์ที่ต้องการทำงานด้านการศึกษา ในคณะทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งทันตแพทย์ที่ทำงานในหน่วยงานราชการหรือเอกชน หลักสูตรได้รับการรับรองจากสถาบันการอุดมศึกษา บัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้เป็นผู้มีคุณสมบัติโดดเด่นสำหรับการเข้าทำงานด้านการสอนในมหาวิทยาลัย และทำงานคลินิกทางวิทยาเอ็นโดดอนต์
หลักสูตรของเราเน้นการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก โดยผู้เรียนจะได้ศึกษาและปฏิบัติงานตั้งแต่ emergency endodontic treatment, vital pulp therapy, conventional endodontic treatment ไปจนถึง surgical endodontic treatment
ในด้านการวิจัย คณาจารย์ในหลักสูตรมีการติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาเอ็นโดดอนต์อย่างสม่ำเสมอ งานวิจัยของคณาจารย์มีความหลากหลาย ได้แก่ regenerative endodontics, microbiology, materials used in endodontic และ new technology in endodontics
ผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ สามารถติดต่อพวกเราได้ตามรายละเอียดใน website 

Chu คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ทญ.ดร.ชุติมา ระติสุนทร
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติงานอาจารย์ผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนสาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานเป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ในหน่วยงานทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน

hg3 students คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
hg5 lab คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
37 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
25 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ
22 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก
3 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
12 หน่วยกิต

ข้อมูลหลักสูตร (Curriculum)

ข้อมูลหลักสูตรสามารถดูได้ที่ website บัณฑิตวิทยาลัย หัวข้อ www.register.gradchula.com 

ปฏิทินการศึกษา

ระบบทวิภาค

ภาคการศึกษาต้น
สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย
มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน
มิถุนายน – กรกฎาคม

การสมัครเข้าศึกษา

ขั้นตอนการสมัคร

  1. ดาวน์โหลดเอกสารการสมัครจาก www.dent.chula.ac.th/grad
  2. ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 500 บาท ผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี  026-2-70085-2  
  3. ส่งใบสมัคร  หลักฐานการชำระค่าสมัครและเอกสารประกอบทั้งหมด (ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและรหัสหลักสูตรหน้าซอง) ส่งด้วยตนเองหรือ ทางไปรษณีย์ที่

สำนักงานบัณฑิตศึกษา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 10 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80
ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
(ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไม่เกิน 1 วัน หลังวันสุดท้ายของการรับสมัครทางไปรษณีย์) 

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

  1. สำเร็จปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยที่กระทรวงศึกษา หรือ ก.พ. รับรอง  
  2. ได้คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่า  2.5  ขึ้นไป
  3. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมในประเทศไทยแล้ว (ให้แนบสำเนาพร้อมใบสมัคร)
  4. เคยปฏิบัติงานในวิชาชีพทันตแพทย์มาแล้วไม่น้อยกว่า  1  ปี นับจากวันที่ได้รับใบบระกอบวิชาชีพจนถึงวันเปิดเทอมต้นของปีการศึกษา  (ให้ยื่นหลักฐานพร้อมใบสมัคร)
  5. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ  พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

  • ประมาณเดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียน

  • ตามประกาศจุฬาฯ

ค่าธรรมเนียมพิเศษ

ภาคต้น/ปลาย
ภาคการศึกษาละ 60,000 บาท
ภาคฤดูร้อน
ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท

กิจกรรมของหลักสูตร

  • โครงการทันตกรรมบ้านปากเกร็ด นิสิตจะได้ไปทำการรักษาคลองรากฟันให้เด็กด้อยโอกาสที่บ้านปากเกร็ด
  • กิจกรรมทำฟันฟรีของคณะ ทุกวันทันตสาธารณสุขของปีจะได้ร่วมทำฟันฟรีให้กับผู้ป่วย
  • จัดงานประชุมวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง นิสิตบัณฑิตศึกษาของสาขาจะได้ร่วมงานประชุมวิชาการของสาขาหรือช่วยงานเป็นผู้ช่วยสอนปฏิบัติการ 

International Publication

1

J Endod. 2011 May;37(5):581-7.​

Vital pulp therapy in vital permanent teeth with cariously exposed pulp: a systematic review​ Panuroot Aguilar, Pairoj Linsuwanont​ PMID: 21496652​

2

J Endod. 2016 Mar;42(3):460-4.​

Effectiveness of Different Disinfection Protocols on the Reduction of Bacteria in Enterococcus faecalis Biofilm in Teeth with Large Root Canals​ Patinee Pladisai, Ruchanee Salingcarnboriboon Ampornaramveth, Pavena Chivatxaranukul​ PMID: 26830428​

3

Aust Endod J. 2016 Apr;42(1):32-6.​

Shaping ability of ProTaper NEXT, ProTaper Universal and iRace files in simulated S-shaped canals​ Sirawut Hiran-us, Somsinee Pimkhaokham, Jirapat Sawasdichai, Arata Ebihara, Hideaki Suda  ​PMID: 26420685

4

Dent Mater J. 2016 Dec 1;35(6):888-892.​

Epigallocatechin-3-gallate increased the push out bond strength of an epoxy resin sealer to root dentin​ Suthida Pheenithicharoenkul , Anchana Panichuttra​ PMID: 27680035

5

J Endod. 2017 Feb;43(2):238-245.​

Treatment Outcomes of Apexification or Revascularization in Nonvital Immature Permanent Teeth: A Retrospective Study​ Jidapa Silujjai, Pairoj Linsuwanont​ PMID: 28132710

6

J Endod. 2019 Mar;45(3):332-337

Influence of Adjuncts to Irrigation in the Disinfection of Large Root Canals​ Parnwad Sasanakul, Ruchanee Salingcarnboriboon Ampornaramveth, Pavena Chivatxaranukul​ PMID: 30803542

7

BMC Oral Health. 2022 Aug 16;22(1):354.​

Efficacy of chitosan paste as intracanal medication against Enterococcus faecalis and Candida albicans biofilm compared with calcium hydroxide in an in vitro root canal infection model​ Pasika Thienngern, Anchana Panichuttra, Chootima Ratisoontorn, Chuanchom Aumnate, Oranart Matangkasombut  ​PMID: 35974361

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 7 อาคารสมเด็จย่า 93
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8795
  • Facebook

อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร

  • ผศ.ทญ.ดร.ชุติมา ระติสุนทร

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.