Home/ภาควิชา/ภาควิชาปริทันตวิทยา

เกี่ยวกับ
ภาควิชาปริทันตวิทยา

คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ประวัติความเป็นมา

ในอดีตการเรียนการสอน วิชาปริทันตวิทยา อยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก ผศ.ทญ.วราภรณ์ บัวทองศรี ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากในขณะนั้น เห็นว่าในภาควิชาฯ มีอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถทางเวชศาสตร์ช่องปากอยู่จำนวนหนึ่ง และทางปริทันตวิทยาอีกจำนวนหนึ่ง หากแยกเป็น 2 ภาควิชาอย่างชัดเจน จะทำให้การบริหารจัดการคล่องตัวยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนงานวิจัยในแต่ละสาขาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ภาควิชาปริทันตวิทยาจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 อันเป็นผลจากความพยายามและความมุ่งมั่นของท่านอาจารย์ ในสมัยเริ่มแรกนั้นภาควิชาปริทันตวิทยามุ่งการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิตเป็นหลัก รับนิสิตบัณฑิตศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตเพียงปีละ 2 คน ต่อมาจึงขยายจำนวนรับเป็น 5 คน ในปี พ.ศ. 2528 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (สาขาปริทันตวิทยา) และในปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปริทันตศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร เป็นผลให้ภาควิชาฯมีงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ.2545 ภาควิชาได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เพื่อต่อยอดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตอีก 1 ปี และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์เฉพาะทางระดับวุฒิบัตร สาขาปริทันตวิทยา เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมมีคุณสมบัติในการสอบอนุมัติบัตร/วุฒิบัตร เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของทันตแพทยสภา ภาควิชาได้ทำการพัฒนาการเรียนการสอน วิชาปริทันตวิทยาให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนิสิต ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา


ปรัชญา

ภาควิชาปริทันตวิทยามีปรัชญาที่สอดคล้องกับของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวคือ จักเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานสูงในการจัดการศึกษาทางทันตแพทย์ จักสร้างทันตแพทย์ที่มีความสามารถและมีจริยธรรม เพื่อรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ 


ปณิธาน

ภาควิชาปริทันตวิทยามีปณิธานที่สอดคล้องกับของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวคือ จักเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูง ที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ให้กอปรด้วย ความเป็นเลิศทางวิชาการที่มีทั้งคุณธรรม จริยธรรม และมีความใฝ่รู้อยู่เสมอ จักพัฒนาโดยบุกเบิก ค้นคว้า ด้านบริการและการวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และนำมาประยุกต์ใช้กับสังคม ทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงสรรพวิทยาการในสาขาปริทันตวิทยา โดยมีมาตรฐานทางวิชาการทัดเทียมนานาอารยประเทศ


วิสัยทัศน์

สถาบันการศึกษาแห่งชาติในระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านปริทันตวิทยาและรากฟันเทียม ที่สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืน


พันธกิจ

  1. Create graduates who possess academic knowledge, advanced skills, a sense of public responsibility, and leadership qualities.
  2. Be a pioneer in the development of knowledge, creating innovations for teaching and research.
  3. Produce internationally recognized academic research and output.
  4. Apply knowledge learned towards the sustainable development of the country and society.

ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาปริทันตวิทยา
จากอดีต – ปัจจุบัน

Vaaa 2 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2531

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง วราภรณ์ บัวทองศรี


haaaaaa 1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2535

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ หาญณรงค์ พิทยะ


nnnnnn.jpg คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2543

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นพดล ศุภพิพัฒน์


Tiiii คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ฐิติมา ภู่ศิริ


onaaaaa คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2555

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง อรอนงค์ วนิชจักร์วงศ์


ProfessorDr.RANGSINI คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2563

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.รังสินี มหานนท์


Assoc.Prof .SUPHOT คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2563

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สุพจน์ ตามสายลม


ORAWAN คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง อรวรรณ จรัสกุลางกูร