งานประชุมวิชาการนานาชาติ Myanmar Dental Health Science Conference

ข่าวประชาสัมพันธ์ จาก ฝ่ายวิชาการ

คณาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญเป็นวิทยากรรับเชิญในงานประชุมระดับนานาชาติ

รศ.ทญ.ดร.อรนาฎ มาตังคสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจุลขีววิทยาช่องปากและภูมิคุ้มกันวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายในงานประชุมวิชาการ Myanmar Dental Health Science Conference ซึ่งจัดโดย Ministry of Health ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ Myanmar International Convention Center II เมือง Nay Pyi Taw, Myanmar ในหัวข้อ “The impact of oral microbiome on oral health” โดยได้นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ oral microbiome และผลของการเปลี่ยนแปลง หรือการเสียสมดุลย์ของเชื้อจุลินทรีย์ต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพช่องปาก โดยได้กล่าวถึงผลงานวิจัยของผู้บรรยายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญทางทันตสาธารณสุข คือโรคฟันผุในเด็ก เรื่อง “การระบุเชื้อในน้ำลายเพื่อใช้ในการพยากรณ์การเกิดฟันผุในเด็กอายุ 1 ปี” ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ไปในวารสาร Journal of Dental Research ซึ่งการศึกษานี้ ได้ใช้เทคโนโลยีการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อในน้ำลายของเด็กอายุ 1 ปี ทำให้สามารถพบลักษณะของเชื้อที่มีการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดโรคฟันผุขึ้นในช่องปาก ซึ่งอาจนำมาพัฒนาต่อเพื่อพยากรณ์โรคที่จะช่วยให้ทันตแพทย์สามารถระบุเด็กที่มีความเสี่ยงสูง และสามารถให้การปัองกันโรคได้อย่างจำเพาะเจาะจง และทันท่วงที จากนั้นได้กล่าวแนะนำคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และประชาสัมพันธ์งานประชุม FDCU symposium เนื่องในวาระครบรอบ 84 ปีคณะฯ ด้วย

Associate Professor Dr. Oranart Matangkasombut of the Department of Microbiology and chairperson of the Center of Excellence on Oral Microbiology and Immunology, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University was invited to speak at the Myanmar Dental Health Science Conference organized by Ministry of Health on November 3-4, 2023 at Myanmar International Convention Center II, Nay Pyi Taw, Myanmar. Her talk on “The impact of oral microbiome on oral health” gave an overview of how changes in the oral microbiome can affect systemic and oral health. A focus was given to her team’s recent work on early childhood caries, an important public health problem. This work on the prediction of future caries in 1-year-old children via salivary microbiome was recently published in the Journal of Dental Research. The study used next generation sequencing technology to identify bacterial biomarker in the salivary microbiome of 1-year-old children before caries onset that can help to predict caries formation at 2 years old. This is a candidate that could further developed into a prognostic tool that can help dentists to identify high-risk children so that they can offer targeted prevention in a timely manner. In addition, she also invited participants to join the 84th anniversary celebration of the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University and FDCU symposium next year.