เกี่ยวกับภาควิชา
ประวัติความเป็นมา
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูง มีหลักสูตรของภาควิชา ได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ วินิจฉัยและบำบัดรักษาผู้ป่วยทางเวชศาสตร์ช่องปาก ผลงานทางวิชาการ และงานวิจัยคณาจารย์ภาควิชาฯ อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ และระดับนานาชาติ
คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากแผนกทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นแผนกอิสระในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 ครั้งนั้น แม้ไม่มีวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก แต่มีรายวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ตามข้อมูลที่ได้จากหนังสือ ทบ.อนุสรณ์2487 ซึ่งมีผู้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ 60 ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาค จากอดีต-ปัจจุบัน
- ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ อิสระ ยุกตะนันท์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง วราภรณ์ บัวทองศรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง พรรณี สุ่มสวัสดิ์
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง กฤษณา อิฐรัตน์
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง วิไลวรรณ อเนกสุข
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ลัคนา เหลืองจามิกร
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นายแพทย์ ธนสิทธิ์ เสรีรัตน์
- ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง กอบกาญจน์ ทองประสม
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ภัทรนฤน กาญจนบุษย์
ปรัชญา
ปณิธาน
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก มีปณิธานที่สอดคล้องกับปณิธานของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจักเป็นภาควิชาที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตแพทย์ให้กอปรด้วย ความเป็นเลิศทางวิชาการที่มีทั้งคุณธรรม จริยธรรม และมีความใฝ่รู้อยู่เสมอ มีความสามารถพัฒนา บุกเบิก ค้นคว้า ด้านบริการและการวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และนำมาประยุกต์ใช้กับสังคม ทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงสรรพวิทยาการในสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก โดยมีมาตรฐานทางวิชาการทัดเทียมนานาอารยประเทศ
วัตถุประสงค์
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก กำหนดวัตถุประสงค์ของภาควิชาฯ ไว้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
- ระดับปริญญาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในด้านการตรวจพิเคราะห์อาการสำคัญ และ/หรือสาเหตุของปัญหาภายในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา ป้องกันการเกิดโรคทางทันตกรรม โรคของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก และการคงสภาพสุขภาพช่องปากที่ดี
- ระดับปริญญาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการจัดการ ภาวะฉุกเฉินเบื้องต้นทางทันตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวกับธรรมชาติ และความรุนแรงของโรค
- ระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีความรู้ความชำนาญสามารถให้ การดูแลรักษา/หรือร่วมให้การปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากและความเจ็บปวดบริเวณใบหน้า รวมทั้งมีความสามารถจัดการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ
- บัณฑิตมีความรู้ความสามารถดำเนินการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพช่องปากและใบหน้า รวมทั้งมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ความชำนาญนั้นๆ ให้กับผู้อื่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้บัณฑิตปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก