Home/หน่วยงาน/โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์

เกี่ยวกับโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมา

โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (ซึ่งในขณะนั้นคือ โรงพยาบาลโรคฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) และได้รับเงินจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่สำหรับเป็นหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลทันตกรรม ต่อมาในวาระที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2533 และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา  คณะฯ ได้จัดสร้างอาคารเพื่อเป็นโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์หลังใหม่ขึ้น  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย” ซึ่งอาคารหลังนี้จัดเป็นโรงพยาบาลทางทันตกรรมแห่งแรกของประเทศไทย  ที่ให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรม และศัลยกรรมช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมทั้งโรคอื่นๆ ภายในช่องปากอย่างครบวงจร และนอกจากนี้ยังได้จัดสร้างพระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานไว้ ณ โถงชั้น 2 ของอาคารด้วย (ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่ลานด้านข้างอาคาร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ในโวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 93 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์นี้ว่า “อาคารสมเด็จย่า 93” โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารสมเด็จย่า 93” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539” 

hospital building คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารสมเด็จย่า 93 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 40 เตียงบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียลแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ประกอบด้วยหน่วยบูรณะช่องปากและใบหน้า หน่วยความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิด (ปากแหว่ง-เพดานโหว่) หน่วยทันตกรรมผู้สูงอายุ หน่วยทันตกรรมรากเทียม หน่วยผู้ป่วยติดเชื้อ รวมทั้งเป็นสถานที่เรียนและปฏิบัติงานคลินิกของนิสิตทุกสาขาวิชา เป็นที่ตั้งของภาควิชาทันตกรรมหัตถการ ปริทันตวิทยา พยาธิวิทยา รังสีวิทยา คลินิกทันตกรรมบริการ คลินิกรังสี คลินิกตรวจเวชศาสตร์ช่องปาก เวชระเบียน ศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก และห้องประชุมสี สิริสิงห ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาด 450 ที่นั่ง และห้องประชุมท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ซึ่งมีขนาด 65 ที่นั่ง 

ผู้บริหาร

คณบดี

ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์

รองคณบดี

ฝ่ายโรงพยาบาล
ผศ.ทพญ.ดร.พิสชา พิทยพัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ทญ.ดร.พิสชา พิทยพัฒน์

ผู้ช่วยคณบดี

ฝ่ายโรงพยาบาล
ด้านบริการ และคลินิกบริการพิเศษ
oraphan 21 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทญ.อรพรรณ รุ่งโรจน์วิทยกุล

ผู้ช่วยคณบดี

ฝ่ายโรงพยาบาล
ด้านบริการ และการประกันคุณภาพ
chongpean 21 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พว.จงเพียร จิรโชคโสภณ

คุณค่าหลักขององค์กร

smile big คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

SMILE

S*

Sustainability

ความยั่งยืน


M

Mastery

เชี่ยวชาญในศาสตร์


I*

Integrity

ชูเชิดคุณธรรม


L

Leadership

มีความคิดเป็นผู้นำ


E*

Excellence

มุ่งมั่นความเป็นเลิศ


หมายเหตุ *ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลมาตรฐานสูงเฉพาะทางทันตกรรมซึ่งเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม และการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์

พันธกิจ

  1. มุ่งมั่นให้บริการทันตกรรมที่มีมาตรฐานครอบคลุมระดับตติยภูมิ โดยการเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และการสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติในการให้บริการทางทันตกรรม
  2. มุ่งมั่นให้การสนับสนุนการฝึกอบรม และการทำวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ของคณะฯ โดยฐานความรู้ด้านทันตกรรมโรงพยาบาล
  3. มุ่งมั่นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล