ความเป็นมาของหลักสูตร
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่มีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย รวมทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการทันตแพทย์ชำนาญการเฉพาะทางมีมากขึ้น ทันตแพทย์ส่วนมากมีความต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความสามารถในการรักษาผู้ป่วยในระดับที่หลากหลาย
นอกจากนี้ขอบเขตของงานและปริมาณความต้องการการดูแลรักษาด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลนั้นมีหลายระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่งานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การถอนฟัน การผ่าฟันคุดที่ไม่ยุ่งยาก การดูแลรักษาผู้ป่วยด้านศัลยกรรมที่ไม่ยุ่งยากในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ งานที่มีความซับซ้อนระดับปานกลาง เช่น การผ่าฟันคุดที่ยาก ผ่าฟันฝัง การผ่าตัดแก้ไขสันกระดูกขากรรไกรให้เหมาะกับการใส่ฟันปลอม การผ่าตัดใส่รากฟันเทียม การรักษาอุบัติเหตุที่เกิดกับฟันและกระดูกรองรับฟัน การรักษาการติดเชื้อที่มีสาเหตุจากฟันที่ไม่ซับซ้อน เป็นต้น งานที่มีความยากและซับซ้อนมากขึ้น เช่น การรักษาโรคถุงน้ำและเนื้องอกของกระดูกขากรรไกร การติดเชื้อบริเวณช่องปากและใบหน้าที่มีสาเหตุจากฟันที่ซับซ้อนหรือเกิดจากสาเหตุอื่น การรักษากระดูกขากรรไกรและใบหน้าหัก การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เป็นต้น
คณะทันตแพทยศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความต้องการของสังคม ทันตแพทย์และความหลากหลายของงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จึงได้เปิดหลักสูตรต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับทันตแพทย์ โดยเราได้เปิดหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและยังคงพัฒนาหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ทันตแพทย์ที่มารับการฝึกอบรมจะได้รับการฝึกทักษะต่างๆ อย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้ทันตแพทย์ประจำบ้านกลายเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลอย่างแท้จริง
ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?
ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ดีและต่อยอดความรู้ขั้นสูง
เนื่องจากเชื่อว่าการพัฒนาต่อยอดต่างๆ ให้ได้ผลดีและยั่งยืน ต้องเริ่มจากการมีพื้นฐานที่ดีก่อนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานต่างๆ อย่างครบถ้วน สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้ ส่งผลให้นิสิตสามารถศึกษาความรู้ขั้นสูงได้ดียิ่งขึ้น เกิดการเชื่อมโยงความรู้เบื้องต้นกับความรู้ขั้นสูงขึ้น เกิดความสนุกสนานในการเรียนและสามารถศึกต่อต่อได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา แม้ว่าจะจบการศึกษาไปแล้ว
คิดเป็นและทำได้
นิสิตจะได้รับการฝึกให้มีการคิดเชิงวิเคราะห์วิพากษ์ในมิติต่างๆ ผ่านการสัมมนา วารสารสโมสร และเคสผู้ป่วยจริง หลักสูตรเน้นให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติในผู้ป่วยจริงๆ อย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด และส่งเสริมให้ฝึกผ่าตัดเพิ่มเติมในอาจารย์ใหญ่ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี
ครอบครัวศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
บรรยากาศในการเรียนการสอนจะเป็นเหมือนครอบครัว ซึ่งส่งเสริมให้นิสิตกล้าซักถาม และแสดงความคิดเห็น รวมถึงอภิปรายความรู้ต่างๆ อย่างกว้างขวาง และเนื่องจากภาควิชาศัลยศาสตร์ได้จัดเปิดหลักสูตรหลังปริญญา สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล มาเป็นเวลานาน ทำให้มีศิษย์เก่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงในระดับนานาชาติ ทำให้เราเป็นเหมือนครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพี่น้องอยู่ในทุกๆ ที่
ความร่วมมือ
สารจากผู้อำนวยการหลักสูตร
รศ.ดร.ทพ.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ
หัวหน้าภาควิชา
คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ
รายละเอียดหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
- หลักสูตรระยะเวลาการศึกษา 4 ปี
วิชาบังคับ และวิชาเลือก
- รายละเอียดตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
Curriculum
- ระยะเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 4 ปี (48 เดือน) โดยเป็นการฝึกอบรมในสถาบันหลักไม่น้อยกว่า 16 เดือน หรือ 1 ใน 3 ของระยะเวลาฝึกอบรมทั้งหมด
- ใช้เวลาอย่างน้อย 32 เดือน ในงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล รวมทั้งงานวิจัย และต้องมีการหมุนเวียนไปฝึกอบรม ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งระยะเวลาในภาคปฏิบัติดังนี้ได้แก่
- ศัลยกรรมทั่วไป และศัลยกรรมอุบัติเหตุ อย่างน้อย 3 เดือน
- อายุรกรรมทั่วไป อย่างน้อย 2 เดือน
- วิสัญญีวิทยา อย่างน้อย 3 เดือน
- โสต ศอ นาสิก และลาริงซ์วิทยา อย่างน้อย 1 เดือน
- ศัลยกรรมประสาท 1 เดือน
- ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง 1 เดือน
- วิชาเลือก 4 เดือน เช่น พยาธิวิทยา ศึกษาดูงานภายในและต่างประเทศ เป็นต้น
- การจัดการฝึกอบรมและปฏิบัติงานมีดังนี้
- ภาควิชาการ ได้แก่ การบรรยาย การประชุมวิชาการ การสัมมนา วารสารสโมสร แบ่งเป็น การศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือ วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นระยะเวลาประมาณร้อยละ 30 และการศึกษาความรู้ในสาขานั้น หรือสาขาที่เกี่ยวข้องประมาณร้อยละ 70
- ภาคปฏิบัติ ทันตแพทย์ประจำบ้านแต่ละชั้นปีปฏิบัติงานในคลินิกและห้องผ่าตัด ดูแลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมทั้งอยู่เวรฉุกเฉิน
- ภาควิจัย ทันตแพทย์ประจำบ้านจะได้รับการฝึกฝนการทำวิจัย และมีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง
ปฏิทินการศึกษา
- เริ่มการฝึกอมรมในเดือนกรกฎาคมของทุกปี
การสมัครเข้าศึกษา
กรุณาติดตามประกาศของราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ https://www.royalthaident.org
คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
- เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นที่ทันตแพทยสภารับรอง
- ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมจากทันตแพทยสภาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537
- เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสียหาย และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
ทันตแพทยสภาอาจอนุมัติให้ผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของต่างประเทศเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลได้เมื่อ
- เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ
- มีสถาบันให้การฝึกอบรมรับเข้าฝึกอบรม และ
- ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล โดยความเห็นชอบจากราชวิทยาลัย
ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม
ค่าเล่าเรียน |
48,000 บาท/ภาคการศึกษา* |
ค่าธรรมเนียม |
25,000 บาท/ภาคการศึกษา* |
ค่าบำรุงการศึกษา |
7,000 บาท/ปี** |
*เฉพาะปีการศึกษาแรก
**จ่ายให้กับราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย
ผลงานวิจัยของนิสิต
- Trachoo V, Vipismakul V. Ameloblastic Fibro-odontoma or Immature Odontoma: A Retrospective Analysis of 134 Cases. Journal of Clinical and Diagnostic Research. 2019 Sep, Vol-13(9):ZC32-ZC37.
- Santipap P, Sessirisombat S, Subbalekha K, Sastravaha P, Kaboosaya B, Kamolratanakul P, Sumphaongern T, Dhanesuan K, Trachoo V, Pimkhaokham A. Comparison of masticatory function in patients with mandibular prognathism receiving orthognathic surgery using two different fixation materials. Thai J Oral Maxillofac Surg. 2019;33(2):147-155.
- Aksorn P, Chaikiawkeaw D, Sastravaha P, Supaphol P, Pavasant P. Osteoconductivity Evaluation of 3-Dimensional Dual-leached Polycaprolactone Scaffold. J Dent Assoc Thai. 2021;71(4):383-291.
- Taenguthai T, Subbalekha K, Thavichachart N, Pisarnturakit P, Pimkhaokham A, Kiattavorncharoen S. Stress and burnout in Thai oral and maxillofacial surgery residents. Thai J Oral Maxillofac Surg. 2020;34(2):118-125.
- Sowapark J, Sumphaongern T. Does Ultrasound-Guided Transversus Abdominis Plane Block Reduce Donor Site Pain After Harvesting Anterior Iliac Crest Bone Grafts. J Oral Maxillofac Surg. 2021;79(2):333-342.
- Khan-ngern E, Subbalekha K, Thavichachart N, Pisarnturakit PP, Pimkhaokham A, Kiattavorncharoen S. Stress and Burnout of Postgraduate Dental Students in Chulalongkorn University. J Dent Assoc Thai. 2022;72(2):35-44.
- Rattanakornkul N, Trachoo V, Chavanavesh J. The Appropriate Anteroposterior Position of Maxillary Incisor in Thai Adults. J Dent Assoc Thai. 2022;72(1):93-99.
- Panya S, Kongsong W, Subbalekha K. The outcome of two-jaw orthognathic surgery using 3-dimensional analysis of virtual surgical planning: a retrospective study. J Dent Assoc Thai. 2022;72(2):311-318.
- Damrongsirirat N, Kaboosaya B, Siriwatana K, Subbalekha K, Jansisyanont P, Pimkhaokham A. Complications related to orthognathic surgery: A 10-year experience in oral and maxillofacial training center. J Craniomaxillofac Surg. 2022;50(3):197-203.
ติดต่อหลักสูตร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารทันตกรรม 1
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
Subscribe
TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER
To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา