หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

Master of Science Program in Oral and Maxillofacial Surgery

shutterstock 439140979 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาการศึกษา

(ตามเกณฑ์)

2 ปี

เรียนเต็มเวลา

ระดับ

ปริญญาโท

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน

ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ

จำนวนหน่วยกิต

36 หน่วยกิต

จุดเด่นของหลักสูตร

มุ่งเน้นการสร้างทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญสูงในสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ด้วยการเพิ่มพูนทักษะทางคลินิกและทักษะการวิจัย โดยสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นที่ต้องการของสังคมและมีศักยภาพที่จะพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์ให้แก่ประเทศ

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร

เปิดรับสมัครช่วงวันที่ 1-30 ธันวาคม ของทุกปี

ความเป็นมาของหลักสูตร

หลักสูตรจัดทำเพื่อเน้นการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตด้านการผ่าตัดในช่องปากขั้นสูงที่ซับซ้อน ร่วมไปกับการพัฒนาความเชี่ยวชาญในการวิจัย

หลักการและเหตุผล

  • เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรคทางศัลยกรรมช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล โดยให้การตรวจพิเคราะห์ วินิจฉัย วางแผน พยากรณ์ และบำบัดรักษาโรค อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและสังคม เป็นผู้มีคุณธรรม มี จรรยาบรรณ และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • เพื่อผลิตงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล รวมถึง ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อการพัฒนาใน ระดับนานาชาติ

ทำไม
ต้องหลักสูตรนี้
ที่จุฬา?

national cancer institute 701 FJcjLAQ unsplash คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1

Specialty

Students are able to treat patients in oral and Maxillofacial field especially in complicated cases.

2

Safety practice

Practice will be performed under supervision of experts.

3

Support and socialization

Under a family-like environment, student engagement and network will be the key for alumni support. Digital equipment, laboratory practice especially soft cadaver training are also provided.

ความร่วมมือ

ได้ฝึกฝนงานคลินิกในโรงพยาบาลสถาบันสมทบ

  • ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 
  • กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลตากสิน
  • งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กองทันตกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สารจากหัวหน้าภาควิชา

สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่หลักสูตรภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาศัลยศาสตร์ ตั้งขึ้นพร้อมกับกำเนิดคณะทันตแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2483 โดยมีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล การบริการ รวมทั้งงานวิจัย มาอย่างยาวนาน ตลอดเวลากว่า 80 ปี ภาควิชาฯ มีคณาจารย์ และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้การช่วยเหลือให้งานด้านต่างๆ สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน ภาควิชาประกอบด้วย คณาจารย์ 18 คน บุคลากรทั้งพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ธุรการ รวม 8 คน ให้บริการการเรียนการสอนนิสิตในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (พีจี) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (ป.โท) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม (หลักสูตรนานาชาติ) (ป.สูง) และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล  (เรสซิเดนท์) โดยแต่ละหลักสูตรมีจุดเน้นร่วมกันในด้านการให้ความรู้ทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล แต่ต่างกันที่ระยะเวลาในการศึกษาต่างกันตั้งแต่ 1-4 ปี จำนวนชั่วโมงการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ และความลุ่มลึกของงานวิจัย โดยการเรียนการสอนทั้งหมดจะอยู่ทั้งในคณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลคณะฯ ซึ่งประกอบด้วยคลินิกศัลยศาสตร์ ห้องวิจัยทางคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ห้องตรวจศัลยกรรม ห้องผ่าตัด หออภิบาล เป็นต้น นอกจากนี้นิสิตยังได้มีโอกาสไปหมุนเวียนฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลเครือข่ายทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด เพื่อให้ได้ประสบการณ์ในเคสต่างๆที่ไม่สามารถพบในคณะฯ เพิ่มขึ้น
อนึ่งภาควิชาฯ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างสูงที่จะผลิตบุคลากรทางทันตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญด้านศัลยศาสต์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และศัลยศาสตร์ช่องปากและรากฟันเทียม เพื่อออกไปให้บริการแก่ประชาชนที่มีความจำเป็นทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ในสัดส่วนและความจำเป็นต่อการรักษาโรคที่ประชาชนประสบปัญหา โดยอาศัยทั้งความรู้ ทักษะ และงานวิจัยที่ได้ศึกษาจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ทพ.อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ

หัวหน้าภาควิชา

คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ

  • ทันตแพทย์เฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
  • นักวิจัยที่สนใจทำวิจัยเกี่ยวกับสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ในมหาวิทยาลัยซึ่งสอนเกี่ยวกับสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
Oral and Maxillofacial Surgery 01 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Oral and Maxillofacial Surgery 02 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Oral and Maxillofacial Surgery 03 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก1 (plan A)
แผน ก แบบ ก2 (plan B)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
36
36
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน
24
รายวิชาบังคับ
23
รายวิชาเลือก
1
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
36
12

การสมัครเข้าศึกษา

Master of Science Program in Oral and Maxillofacial Surgery

  • Period of Admission: September 2, 2024 – November 29, 2024
  • Enroll Since: August, 2025 (เปิดเรียน สิงหาคม 2568)

Procedure of admission

  1. Please read and following procedure of admission
    Thai version: https://drive.google.com/file/d/1cTI_b2ZO4CQHifX3Z1qaWcMTTlT9Nt4k/view?usp=sharing
    English version: https://drive.google.com/file/d/10QpfrLb5yFOmAx1px1_qkWRk5eZikDYr/view?usp=sharing
  2. Application documents must copy to pdf files or image files https://drive.google.com/file/d/1PGH1K39UKcb_WCFSky6i5SQsaOR5KGD_/view?usp=sharing
  3. Fill Application Form and Upload Application documents https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc2bk4EvPdTBL3ghe5C6z0pxNfqgCIUKk9daYANd1hZgTcHqg/viewform
  4. Pay the application fee and upload pay-in slip
  5. Staff sent confirmation email of application within 5 workdays

For further information pertaining to applicant’s qualifications, please contact

Mrs. Piyachad Plianchobtham
Department of Oral & Maxillofacial Surgery,
Dental 1 Building, Room 102

  • Tel. (+66) 0 2218 8581

ปฏิทินการรับสมัคร

ช่วงเวลาการรับสมัครดังกล่าวเป็นการประมาณการ
***ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ที่ https://www.dent.chula.ac.th/en/grad/admission/

รับสมัครสอบ
1-30 ธันวาคม
ส่งเอกสารประกอบการรับสมัคร
7 มกราคม
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธื์สอบสัมภาษณ์
10 มกราคม
สอบสัมภาษณ์
12 มกราคม
ประกาศผลสอบคัดเลือก
17 มกราคม

ขั้นตอนการสมัคร

  1. ดาวน์โหลดใบสมัครที่ www.dent.chula.ac.th/grad เลือกหัวข้อ ข่าวรับสมัครและการลงทะเบียน
  2. ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 500 บาท  ผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ”  สาขาสยามสแควร์   เลขที่บัญชี  026-2-70085-2
  3. ส่งใบสมัคร  หลักฐานการชำระค่าสมัครและเอกสารประกอบทั้งหมด (ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและรหัสหลักสูตรหน้าซอง) ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ที่

ฝ่ายบัณฑิตศึกษา 
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชั้น 10  อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80  
34 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 
(ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไม่เกิน 1 วัน  หลังวันสุดท้ายของการรับสมัคร ทางไปรษณีย์)

เอกสารเพิ่มเติมในการสมัคร

  1. ให้เสนอโครงร่างวิจัยเบื้องต้น (Proposal) ที่ตนเองสนใจ และเกี่ยวข้องกับงานทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 กำหนดส่งภายในวันที่ 7 มกราคม ส่งมาที่ 

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

  1. จดหมายอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชา โดยยื่นพร้อมเอกสารเสนอโครงร่างวิจัยเบื้องต้น

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

  1. ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ทันตแพทยสภารับรอง และมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00   
  2. จดทะเบียนประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมในประเทศไทยแล้ว หรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  3. ได้คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ  CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450  ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป ให้ใช้ผลคะแนนที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบถึงวันประกาศผลสอบคัดเลือก (หากผลคะแนนสอบ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไปแต่น้อยกว่าเกณฑ์ รับเข้าศึกษาแต่ต้องปฏิบัติตาม “ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตและหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต พ.ศ.2557” ก่อนสำเร็จการศึกษา)
  4. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

ค่าเล่าเรียน / ค่าธรรมเนียม

ค่าเล่าเรียน
ภาคการศึกษาละ 48,000 บาท
ค่าธรรมเนียม
ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท

ผลงานวิจัยนิสิต

  1. Rudeejaraswan A, Pisarnturakit PP, Mattheos N, Pimkhaokham A, Subbalekha K. Dentists’ Attitudes Toward Dental Implant Maintenance in Thailand. JDR Clin Trans Res 2021 [Epub 30 Oct 2021] http://doi.org/10.1177/23800844211049405.
  2. Sermsiripoca K, Pisarnturakit PP, Mattheos N, Pimkhaokham A, Subbalekha K. Comparing pre- and post-treatment patients’ perceptions on dental implant therapy. Clin Implant Dent Relat Res. 2021 [Epub 3 Aug 2021] http://doi.org/10.1111/cid.13036.
  3. Sittikornpaiboon P, Arunjaroensuk S, Kaboosaya B, Subbalekha K, Mattheos N, Pimkhaokham A. Comparison of the accuracy of implant placement using different drilling systems for static computer-assisted implant surgery: A simulation-based experimental study. Clin Implant Dent Relat Res 2021;23(5):635–643.
  4. Engkawong S, Mattheos N, Pisarnturakit PP, Pimkhaokham A, Subbalekha K. Comparing patient-reported outcomes and experiences among static, dynamic computer-aided, and conventional freehand dental implant placement: A randomized clinical trial. Clin Implant Dent Relat Res 2021;23(5)660-670.
  5. Yingcharoenthana S, Ampornaramveth R, Subbalekha K, Sinpitaksakul P, Kamolratanakul P. A split-mouth randomized clinical trial to evaluate the effect of local and systemic administration of vitamin C on extraction wound healing. J Oral Sci 2021;63(2):198-200.
  6. Thanasut A, Silkosessak O, Subbalekha K. Platelet-rich fibrin did not affect autologous bone graft in repairing alveolar clefts. J Oral Maxillofac Surg Med Pathol 2021;33:402-407.
  7. Yimarj P, Subbalekha K, Dhanesuan K, Siriwatana K, Mattheos N, Pimkhaokham A. Comparison of the accuracy of implant position for two-implants supported fixed dental prosthesis using static and dynamic computer-assisted implant surgery: A randomized controlled clinical trial. Clin Implant Dent Relat Res. 2020 Dec;22(6):672-678. doi: 10.1111/cid.12949.
  8. Smitkarn P, Subbalekha K, Mattheos N, Pimkhaokham A. The accuracy of single-tooth implants placed using fully digital-guided surgery and freehand implant surgery. J Clin Periodontol. 2019 Sep;46(9):949-957. doi: 10.1111/jcpe.13160.
  9. Kaewsiri D, Panmekiate S, Subbalekha K, Mattheos N, Pimkhaokham A. The accuracy of static vs. dynamic computer-assisted implant surgery in single tooth space: A randomized controlled trial. Clin Oral Implants Res. 2019 Jun;30(6):505-514. doi: 10.1111/clr.13435. 
  10. Sukpaita T, Chirachanchai S, Suwattanachai P, Everts V, Pimkhaokham A, Ampornaramveth RS. In Vivo Bone Regeneration Induced by a Scaffold of Chitosan/Dicarboxylic Acid Seeded with Human Periodontal Ligament Cells. Int J Mol Sci. 2019 Oct 1;20(19):4883. doi: 10.3390/ijms20194883. 
  11. Kiatkroekkrai P, Takolpuckdee C, Subbalekha K, Mattheos N, Pimkhaokham A. Accuracy of implant position when placed using static computer-assisted implant surgical guides manufactured with two different optical scanning techniques: a randomized clinical trial. Int J Oral Maxillofac Surg. 2020 Mar;49(3):377-383. doi: 10.1016/j.ijom.2019.08.019.
  12. Sittikornpaiboon P, Arunjaroensuk S, Kaboosaya B, Subbalekha K, Mattheos N, Pimkhaokham A. Comparison of the accuracy of implant placement using different drilling systems for static computer-assisted implant surgery: A simulation-based experimental study. Clin Implant Dent Relat Res. 2021 Aug;23(4):635-643. doi: 10.1111/cid.13032.
  13. Pisalsitsakul N, Pinnoi C, Sutanthavibul N, Kamolratanakul P.Taking 200 mg Vitamin C Three Times per Day Improved Extraction Socket Wound Healing Parameters: A Randomized Clinical Trial.Int J Dent. 2022 Mar 10;2022:6437200.
  14. Chaitrakoonthong T, Ampornaramveth R, Kamolratanakul P. Rinsing with L-Ascorbic Acid Exhibits Concentration-Dependent Effects on Human Gingival Fibroblast In Vitro Wound Healing Behavior. Int J Dent. 2020 Mar 21;2020:4706418. doi: 10.1155/2020/4706418.

ติดต่อหลักสูตร

ภาควิชาศัลยศาสตร์ 

คณะทันตแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารทันตกรรม 1
34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

  • โทรศัพท์ 0 2218 8581
  • โทรสาร 0 2218 8581
  • Facebook

Subscribe

TO THE PROGRAM’S NEWSLETTER

To receive informational emails about our news, programs and services according to Privacy Policy.