งานวิจัยภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก
งานวิจัยของเรามุ่งศึกษาโรคในช่องปากที่พบได้บ่อย เช่น รอยโรคสีแดงและขาว โรคตุ่มน้ำพองจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ภาวะปากแห้งจากน้ำลายน้อย และโรค Graft-Versus-Host Disease (GVHD) โดยครอบคลุมตั้งแต่การวินิจฉัยโรคไปจนถึงการพัฒนาวิธีการรักษาและการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร นอกจากนี้ งานวิจัยยังเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เพื่อปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย ลดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ และค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพช่องปากกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบและพัฒนาแนวทางการดูแลที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
งานวิจัยของเรายังพัฒนาเครื่องมือประเมินความรุนแรงของโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากอย่างเป็นระบบ และมุ่งสร้างมาตรฐานใหม่ในการเก็บข้อมูลความรุนแรงของรอยโรคในผู้ป่วย โดยได้แปลและทดสอบเครื่องมือวัดผลลัพธ์ที่ผู้ป่วยในฉบับภาษาไทย เพื่อใช้ในการรักษาและวิจัยในผู้ป่วยไทยที่มีปัญหาเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากและภาวะปากแห้ง ได้แก่ แบบสอบถามโรคเรื้อรังของเยื่อเมือกในช่องปาก-15 เกณฑ์วัดความรุนแรงอาการของโรคไลเคนแพลนัสในช่องปาก และแบบประเมินอาการปากแห้งฉบับย่อ นอกจากนี้ เรายังพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษารอยโรคในช่องปาก เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่ในช่องปาก (fluocinolone acetonide, dexamethasone, clobetasol) ในรูปแบบออราเบสและน้ำยาบ้วนปาก รวมถึงผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปากทรีฮาโลส (trehalose) พร้อมทั้งยารักษาแผลในช่องปากจากสมุนไพร เช่น ว่านหางจระเข้และสารสกัดจากต้นกัญชา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย เรายังได้พัฒนาอนุภาคไฮดรอกซีอะพาไทด์ระดับนาโนสำหรับการนำส่งไมโครอาร์เอนเอ เพื่อกระตุ้นการหายของรอยวิการบนกระดูก และศึกษาความเกี่ยวเนื่องของไมโครอาร์เอนเอต่อภาวะกระดูกตายจากการใช้ยา (medication-related osteonecrosis of the jaw; MRONJ) โดยมีเป้าหมายที่จะนำอนุภาคนาโนนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ MRONJ ในอนาคต
นักวิจัย
รศ.ทพญ.ดร.พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ
Profile
ศ.ทพญ.กอบกาญจน์ ทองประสม
Profile
รศ.ทพญ.ดร.กนกพร พะลัง
Profile
ผศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ
Profile
ผศ.ทพญ.ภัทรนฤน กาญจนบุษย์
Profile
ผศ.ทพ.นพ.ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล
Profile
อ.ทพ.ภาสวัชร์ วิริยกิจจา
Profile
อ.ทพ.พีรวิชญ์ ลิมป์ลาวัณย์
Profile
Publications | PUBMED | Scopus |
รศ.ทพญ.ดร.พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
ศ.ทพญ.กอบกาญจน์ ทองประสม | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
รศ.ทพญ.ดร.กนกพร พะลัง | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
ผศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
ผศ.ทพญ.ภัทรนฤน กาญจนบุษย์ | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
ผศ.ทพ.นพ.ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
อ.ทพ.ภาสวัชร์ วิริยกิจจา | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
อ.ทพ.พีรวิชญ์ ลิมป์ลาวัณย์ | Articles in PUBMED | Articles in Scopus |
ผลงานวิจัยของนิสิต (Student’s Research)
- Pengpis N, Prueksrisakul T, Chanswangphuwana C. Clinical characteristics of oral chronic graft-versus-host disease according to the 2014 National Institutes of Health (USA) consensus criteria. Med Oral Patol Oral Cir Bucal. 2023 Mar 1;28(2):e167-173. doi: 10.4317/medoral.25629.
- Korkitpoonpol N, Kanjanabuch P. Direct immunofluorescence cannot be used solely to differentiate among oral lichen planus, oral lichenoid lesion, and oral epithelial dysplasia. Journal of Dental Sciences, 2023.
- Umpreecha C, Bhalang K, Charnvanich D, Luckanagul J. Efficacy and safety of topical 0.1% cannabidiol for managing recurrent aphthous ulcers: a randomized controlled trial. BMC Complement Med Ther. 2023 Feb 20;23(1):57. PUBMED
- 6175843932 พันโทหญิง ทพญ.ศศิรินทร์ เยี่ยมสถาน (Lt.Col. Sasirin Yiemstan, D.D.S.) Plan A2
Date of Graduation 28 September 2020 Yiemstan S, Krisdapong S, Piboonratanakit P. Association between clinical signs of oral lichen planus and oral health-related quality of life: A preliminary study. Dent. J. October 2020;8(4): Article number 113 DOI:10.3390/dj8040113 12 pages. SCOPUS - 5775814032 ทญ.เปรมฤดี ศรีสุนทร (Premrudee Srisuntorn, D.D.S.) Plan A2
Date of Graduation 22 December 2017Srisuntorn P, Bhalang K, Arirachakaran P. HPMC Based Mucoadhesive for Delivery of Triamcinolone Acetonide: Mucoadhesion and Drug Release Properties, An In Vitro Study. J Dent Assoc Thai. April 2018;68(2):121-131. TCI 1 - 5975832432 ทพ.พิสุทธิ์ อำนวยพาณิชย์ (Phisut Amnuaiphanit, D.D.S.) Plan A2
Date of Graduation 31 July 2018 Amnuaiphanit P, Piboonratanakit P, Dhanuthai K, Mahanonda R, Kamolratanakul P. CD103+ Tissue Resident Memory T Cells in Oral Lichen Planus. The 16th National Scientific Conference of The Dental Faculty Consortium of Thailand. Songkhla, Thailand. 18-20 July 2018:248-253 - 5975809032 ทพ.ณัฐพงศ์ แสงประสิทธิโชค (Nuttapong Saengprasittichok, D.D.S.) Plan A2
Date of Graduation 31 July 2018 Saengprasittichok N, Sucharitakul J, Prapinjumrune C. The Excretion of Lactoferrin in Thai Patients with Oral Lichen Planus. The 16th National Scientific Conference of The Dental Faculty Consortium of Thailand. Songkhla, Thailand. 18-20 July 2018:258-261 - 5975841032 ทญ.สรินธร ปริยะวาที (Sarinthon Pariyawathee, D.D.S.) Plan A2
Date of Graduation 31 July 2018 Pariyawathee S, Phattarataratip E, Thongprasom K. CD146 expression in oral lichen planus in Thai patients. The 16th National Scientific Conference of The Dental Faculty Consortium of Thailand. Songkhla, Thailand. 18-20 July 2018:262-266 - Siripornkitti W, Pengpis N, Chanswangphuwana C, Prueksrisakul T. Therapeutic response of oral chronic graft-versus-host disease to topical corticosteroids according to the 2014 National Institutes of Health (USA) consensus criteria. Med Oral Patol Oral Cir Bucal. 2023 Oct 12:26203. doi: 10.4317/medoral.26203. Online ahead of print. PMID: 37823294
- Kengtong W, Piboonratanakit P, Krisdapong S. Changes in the Oral-Health-Related Quality of Life of Thai patients with oral lichen planus after topical corticosteroid treatment: a 1-month longitudinal study. BMC Oral Health 2023; 23: 898. Doi: 10.1186/s12903-023-03603-w.